ปาฏิหาริย์ 3 : นวัตกรรมสื่อการสอนพุทธธรรม

Main Article Content

พระครูสุนทรธรรมากร สุจิตฺโต

บทคัดย่อ

นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้ในพระพุทธศาสนา ถือเป็นวิธีการเรียนการสอนแนวใหม่ที่เป็นเลิศของพระพุทธองค์ทรงสอนหลักความจริงของชีวิต เริ่มต้นจากการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยเริ่มจากทุกข์ สาเหตุให้เกิดทุกข์ วิธีการดับทุกข์ และแนวทางปฏิบัติให้พ้นทุกข์ของตนเอง โดยพระพุทธเจ้าทรงสอนให้ตระหนักถึงคุณค่าของการเรียนรู้โดยผ่านการปฏิบัติ การสนทนา โดยผ่านสื่อธรรมชาติ สอนให้เข้าใจง่าย ชวนให้ผู้เรียนใคร่อยากเรียนรู้ และปฏิบัติตามด้วยตนเอง การเรียนรู้นี้ คือ นวัตกรรมการสอนที่เป็นเลิศของพระพุทธเจ้า


นวัตกรรมการศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 มี 5 ประเภท คือ  1) นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร 2) นวัตกรรมการเรียนการสอน 3) นวัตกรรมสื่อการสอน 4) นวัตกรรมการประเมินผล 5) นวัตกรรมการบริหารจัดการ นวัตกรรมการใช้สื่อเพื่อเข้าถึงพุทธธรรมต้องเลือกให้เหมาะสมกับเนื้อหา การใช้สื่อการสอนจะยึดตามหลักปาฏิหาริย์ 3 คือ 1) อิทธิปาฏิหาริย์ คือ การแสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ เพื่อให้เขาเข้าใจธรรมะเปรียบได้กับสื่อเสมือน หรือสื่อสามมิติ และโฮโรแกรมในปัจจุบัน 2) อาเทศนาปาฏิหาริย์ คือ การทายใจ รอบรู้กระบวนของจิต บอกสภาพของจิต ความคิด อุปนิสัยได้ถูกต้อง         3) อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ สื่อบุคคล เพราะบุคคลเป็นเหตุแห่งศรัทธาจากบุคคลอื่นได้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิดานนัท์ มลิทอง. เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564.

จิตติมา กุลประเสริฐรัตน์. นวัตกรรมการศึกษา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thaipost.net[30 กันยายน 2565].

พระกันตพัฒน์ สุภทฺโท (เจริญจรัสวาศน์). สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย และบุญเชิด ชานิศาสตร์. การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการจัดการเรียนรู้วิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา เขตคลองเตย สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ ๕ ฉบับที่ ๓ กันยายน-ธันวาคม 2561: 90.

นวัตกรรมสื่อการสอน คืออะไร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: สื่อการสศึกษา.com.

นิพนธ์ สุขปรีดี. นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา. (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2564.

ประมาณ ฮะกีมี. สื่อการสอน. ชลบุรี: สารานุกรมศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563.

ปาณิสรา วัฒนพฤกษ์ และพัชนี เชยจรรย. นวัตกรรมการใช้สื่อเพื่อเข้าถึงพุทธธรรมของสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่องธรรมะทีวี. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม 2558: 61.

พระมหาวิชาญ สุวิชาโน (บัวบาน) และดร.เกษม แสงนนท์. คู่มือดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. พระนครศรีอยุธยา: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2562.

สันทัด ภิบาลสุข. การใช้สื่อการสอน. กรุงเทพมหานคร: พีระพัฒนา, 2564.

สื่อและนวัตกรรมการเรียนการสอน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: สื่อการสอน.com[30 กันยายน 2565].

สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. คู่มือพระสอนศีลธรรม. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เชน ปริ้นติ้ง, 2560.