การพัฒนาทักษะการเล่นฟุตบอลตามหลักพละ ๕ สำหรับนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต ๑
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพทักษะการเล่นฟุตบอลสำหรับนักเรียน ๒) เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะการเล่นฟุตบอลตามหลักพละ ๕ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา ๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการเล่นฟุตบอลตามหลักพละ ๕ สำหรับนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๑ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน ๓๐๒ คน ใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๕ คน เพื่อนำผลจากการสัมภาษณ์มาสนับสนุนงานวิจัยเชิงปริมาณ
ผลการวิจัย
๑. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อสภาพทักษะการเล่นฟุตบอลสำหรับนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๑ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการส่งบอล ด้านการับบอล ด้นการเลี้ยงบอล และด้านการครองบอล ตามลำดับ
๒. ผลการศึกษาวิธีการพัฒนาทักษะการเล่นฟุตบอลตามหลักพละ ๕ สำหรับนักเรียนมี ๔ ทักษะ คือ มีการเลี้ยงบอล การครองบอล การรับบอล การส่งบอล ได้แก่ วิธีการพัฒนาทักษะการเลี้ยงบอล คือ ใช้ความเร็ว ความคล่องตัวในเลี้ยงบอล การครองบอล คือ ใช้ความเร็วและมีสติสัมปชัญญะควบคุมทิศทางของบอล การรับบอล คือ ใช้สติสัมปชัญญะควบคุมอวัยวะในส่วนต่างๆ รับบอลได้ดีและแม้นยำ การส่งบอล คือ ใช้สติสัมปชัญญะควบคุมอวัยวะส่วนต่างๆ ในการส่งบอลให้ไปในทิศทางที่ต้องการได้
๓. เสนอแนวทางการพัฒนาทักษะการเล่นฟุตบอลตามหลักพละ ๕ สำหรับนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต ๑ โดยใช้หลักการฝึกทักษะการเล่นฟุตบอล ๔ ด้าน ได้แก่ การเลี้ยงบอล การครองบอล การรับบอล การส่งบอล มีวิธีการฝึกทักษะ ตามหลักพละ ๕ ประกอบด้วย ๑) มีความรักในการเล่นฟุตบอล ๒) มีความขยันในการฝึกทักษะฟุตบอล ๓) มีความรู้วิธีการเล่นฟุตบอล ๔) มีจิตตั้งมั่นในการเล่นฟุตบอล และ ๕) ใช้ความรู้ความสามารถในการฝึกทักษะการเล่นฟุตบอลอย่างจริงใจ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
นิสิตหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๔.
อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๔.
อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๔.
สมบัติ เครือสาย, “การสร้างแบบทดสอบทักษะกีฬาฟุตบอลสำหรับนักเรียนชายระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี”, วิทยานิพน ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย:มหาลัยวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๕), หน้า ๑๐.
กระทรวงศึกษาธิการ, หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๕๑), หน้า ๕.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
. พระไตรปิฎกภาษาบาลี. ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ ๒๕๐๐.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๕.
. พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.