กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาแรงจูงใจในการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระมหาทองจันทร์ กิตฺติปาโล (กิ่งเกษ)

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาแรงจูงใจในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ สังกัดกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้เชิงรุกที่เสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมจากครูต้นแบบที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดี 2) เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้เชิงรุกตามหลักอิทธิบาท 4 ของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ สังกัดกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเปรียบเทียบระดับกระบวนการเรียนรู้เชิงรุกตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาแรงจูงใจในการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ก่อนและหลังใช้กระบวนการเรียนรู้เชิงรุกตามหลักอิทธิบาท 4 ผลการวิจัยพบว่า (1). ครูใช้รูปแบบการสอนโดยมีบุคคลต้นแบบความสำเร็จเป็นแรงจูงใจ สอนโดยใช้รางวัลเป็นแรงจูงใจ สอนด้วยรูปแบบโครงงาน ใช้สื่อการสอนที่เสริมสร้างฐานแนวคิดให้นักเรียนแก้ปัญหา สอนด้วยวิธีการคิดแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) เพื่อให้นักเรียนได้คิดแก้ปัญหาตามโจทย์อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง (2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้เชิงรุก 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจแก่นักเรียนด้วยรูปแบบกิจกรรมให้ตื่นตัว 2) ให้ประสบการณ์แก่นักเรียนด้วยการให้แก้ปัญหาตามโจทย์ที่มอบให้ เพื่อให้นักเรียนได้ขยันคิด แสวงหาข้อมูลความรู้และแนวคิดใหม่ ๆ 3) ใช้กิจกรรมเป็นแรงจูงใจกระตุ้นนักเรียนในการเรียนรู้ เช่น กิจกรรมเกมในชั้นเรียน 4) สร้างองค์ความรู้ใหม่ด้วยการคิดหาคำตอบที่นอกตำรา 5) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การอภิปรายในชั้นเรียน การคิด-การจับคู่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ 6) ประเมินผลร่วมกันจากการเรียนรู้มาทั้งหมด (3). ผลการเปรียบเทียบ พบว่า โดยภาพรวมทั้งหมด แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านอื่น ๆ คือ ด้านหลักวิริยะ ไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนด้านหลักฉันทะ, ด้านหลักจิตตะ, ด้านหลักวิมังสา, แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลกรณราชวิทยาลัย, 2539.

กระทรวงศึกษาธิการ. แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร : พริกหวาน กราฟฟิค, 2650.

จำรุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์. การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสาระการเรียนรู้การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง. วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม – มิถุนายน, 2563), 2560.

นางสาวไพรินทร์ ขุนศรี. “แรงจูงใจของครูกับคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 9”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย ศิลปากร, 2559.

พระครูปลัดศักดิ์ มหาวีโร (โกศลสุภวัฒน์). “ศึกษาการใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางเตย เขตบึงกุ่ม กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.

พลอยไพลิน นิลกรรณ์. แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). หน่วยศึกษานิเทศก์ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2562.

พุทธทาสภิกขุ. หนังสือการงานที่เป็นสุข. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ธรรมสภา, 2537.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งั้1, กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน, 2555.

สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบันระดับอุดมศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, 2551.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพมหานคร : สํานักนายกรัฐมนตรี, 2560.

สิริอร วิชชาวุธ. หนังสือจิตวิทยาการเรียน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554.

ปิ่น มุทุกันต์. แนวการสอนธรรมตามหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์คลังวิทยา, 2541.

พระธรรมปิฎก. (ป.อ. ปยุตฺโต). หนังสือพุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมมิก, 2546.

พระพรหมคุณาภรณ์. (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์รวมเล่ม 3 ภาค, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ จันทร์เพ็ญ, 2550.