การศึกษาองค์ความรู้โรคลมมีพิษมากที่ปรากฏในตำราการแพทย์แผนไทย

Main Article Content

ฐิติรัตน์ ชัยชนะ
นภาพร ณ อุโมงค์
กฤษดา ศรีหมตรี
ชุนห์พิมาณ ณิชาเกษม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้การดูแลรักษาโรคลมมีพิษมากที่ปรากฏในตำราการแพทย์แผนไทย ครอบคลุมนิยาม สาเหตุปัจจัยการเกิดโรค ลักษณะอาการ หลักการรักษาและแนวทางการรักษาโรคลมมีพิษมาก โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ การประมวลความรู้จากเอกสารตำราและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโรคลมมีพิษมากที่ปรากฏในตำราการแพทย์แผนไทยโดยการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า ในตำราการแพทย์แผนไทยได้กล่าวถึงองค์ความรู้โรคลมมีพิษมากเกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนของลมและเลือดลมหากเกิดการแปรปรวนจะส่งผลทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงถึงแก่ชีวิต ซึ่งมีสาเหตุปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดการกำเริบของโรคลมมีพิษมาก ได้แก่ อายุสมุฏฐานปัจฉิมวัย ความผิดปกติของลมกองหยาบ ความผิดปกติของอุณหภูมิและสภาพแวดล้อม รวมทั้งสภาวะอารมณ์และจิตใจ ปรากฏลักษณะอาการ ได้แก่ 1) อาการวิงเวียนศีรษะ 2) คลื่นไส้ อาเจียน 3) หายใจขัด และ 4) ตัวเย็นมือเท้าเย็น ซึ่งในตำราการแพทย์แผนไทยปรากฏแนวทางในการรักษาโดยการใช้กรรมวิธีเภสัชเวชด้วยตำรับยาที่มีตัวยารสร้อน รสสุขุมหอม เพื่อมุ่งเน้นการสยบลมที่พัดแปรปรวนให้สงบลงและการใช้กรรมวิธีหัตถเวช (การใช้มือ) เพื่อช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของลมและเลือดลมให้เป็นปกติ จากผลการศึกษาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงโอกาสที่แพทย์แผนไทยสามารถพัฒนาการดูแลรักษาโรคลมมีพิษมากมาใช้ในการดูแลรักษาประชาชนเพื่อเป็นทางเลือกในระบบบริการสุขภาพของภาครัฐและเอกชน การจัดการเรียนการสอน รวมถึงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพการแพทย์แผนไทยในสถาบันการศึกษาต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร เพียรสูงเนิน. (2562). การศึกษาเส้นประธานสิบ กรณีศึกษาเส้นกาลทารี. วิทยานิพนธ์การแพทย์ แผนไทย มหาบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะวิทยาลัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ ทางเลือกมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

กรมการปกครอง.สำนักบริหารการทะเบียน (25 ก.ค. 2565). รายงานสถานการณ์ของผู้สูงอายุ. แหล่งที่มาhttps://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/ newStat/home.php สืบค้นเมื่อ 20 ธ.ค. 2565

กรมศิลปากร. (2542). ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

. (2542). ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

. (2555). ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ 5 เล่ม 3. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

กรรณิกา นันตาและคณะ. (2564). การศึกษารูปแบบการรักษาอาการเลือดลมแปรปรวนในปัจฉิมวัยด้วยหัตถเวช. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. 8(2). 343-350.

กองการประกอบโรคศิลปะ. 2549 ก. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 1. กรุงเทพมหานคร : บริษัทไทภูมิ พับลิซซิ่ง จำกัด

. 2549 ข. ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ไทภูมิ พับลิซซิ่งจำกัด

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ ในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว. (2542). แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ภูมิปัญญาทางการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว. (จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542)

ชัยนรินทร์ เรือนเจริญ. (2562). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขันธ์ 5 ตามพุทธปรัชญากับสาเหตุการเจ็บป่วยของการแพทย์แผนไทย. การศึกษาอิสระการแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พระยาพิศณุประสาทเวช. (2451). แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ศุภการจารูญถนนอัษฎางค์.

พิศณุประสาทเวช, พระยา. ร.ศ. 126. แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ศุภการจำรูญถนนอัษฎางค์

ศิริพักตร์ จันทร์สังสา และคณะ. (2563). ประสบการณ์ในการใช้ยาหอมรักษาอาการเลือดลมแปรปรวนของผู้สูงอายุ.วารสารหมอยาไทย. 6(2). 35-47.

ศิริวรรณ เกตุเพชร. (2558). การศึกษาสมุฏฐานและหลักการรักษาโรคตามหลักทฤษฎีธาตุของพุทธศาสตร์กรณีศึกษาโรคกระเพาะอาหารเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล และคณะ. รายงานวิจัย การสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้ แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. นนทบุรี: กลุ่มอนามัยผู้สูงอายุ สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรม อนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองการประกอบโรคศิลปะ. (2542). ตำราแพทย์แผนโบราณทั่วไป สาขาเวชกรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กองการประกอบโรคศิลปะ.