ผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนราสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองนครราชสีมาโดยใช้รูปแบบการบริหาร model “MANA’s Model”เพื่อยกระดับผู้เรียน

Main Article Content

มานะ ครุธาโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานในปัจจุบันของครูโรงเรียนเมืองนครราชสีมา 2เพื่อศึกษาผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบการบริหาร “MANA’ S Model” เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบการบริหาร “MANA’ S Model” เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยการวิจัยครั้งนี้เป็นการการวิจัยเชิงพรรณนา (Description Research)  สถิติที่ใช้ คือ มัชฌิมเลขคณิต (Arithmetic Mean : µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation : σ) โดยนำค่ามัชฌิมเลขคณิตที่ได้เทียบกับเกณฑ์ผลการวิจัย พบว่า : 1. เพื่อศึกษาสมรรถนะการปฏิบัติงานในปัจจุบันของครูโรงเรียนเมืองนครราชสีมา มีผลการวิเคราะห์ข้อมูล  โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ครูโรงเรียนเมืองนครราชสีมามีสมรรถนะการปฏิบัติงานที่เหมาะสมตามสมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน สมรรถนะหลัก ด้านการพัฒนาคนเอง ด้านการทำงานเป็นทีมด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพครู ประกอบด้วย สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนครูเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียนในฐานะชุมชนวิชาชีพ สมรรถนะประจำสายงานด้านการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย การสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในการจัด การเรียนรู้ จัดกระบวนการเรียนรู้ให้มีความยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์และความมุ่งมั่นตั้งใจในการถ่ายทอดความรู้ 2. เพื่อศึกษาผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบการบริหาร “MANA ’ S Model” เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีมาก 3. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลงพัฒนาสมรรถนะครูโรงเรียนเมืองนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบการบริหาร“MANA ’ S Model”เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน มีผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีมาก   

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ, คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2546.

เทื้อน ทองแก้ว, สมรรถนะ (Competency) : หลักการและแนวทางปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 2560.

นพพงษ์ บุญจิตราดุล. หลักการบริหารการศึกษา. (กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์, 2559.

ศรันย์ กษิษฐานุพงษ์. การศึกษาการปฏิบัติงานวิชาการที่จะปฏิบัติจริงและที่ควรปฏิบัติของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จังหวัดพังงา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒสงขลา, 2548.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สำนักนายกรัฐมนตรี, 2560.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 3 (พ.ศ. 2554 - 2558), (พิมพ์ครั้งที่ 4). (กรุงเทพฯ : ออฟเซ็ทพลัส, 2555.

สำนักบริหารการศึกษา, คู่แนวทางปฏิบัติการจัดการศึกษา, (กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อาสารักษาดินแดน 2550.

อรพร อนุกรสวัสดิ์, ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนขนาดใหญ่ สังกัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2558.

ฮิวจ์ เดลานี. (2562). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะคือหัวใจสำคัญของ การศึกษา, สืบค้น จาก https://www.unicef.org/thailand/th/stories/ เข้าถึงเมื่อ 2 มีนาคม 2563.

Stephen P. Robbin. (1997). Administrative Process. New Delhi : Prentice Hall of India.