การพัฒนารูปแบบการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพด้วยพุทธนวัตกรรม ของนักเรียนประถมศึกษาโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กัลยรัตน์ คำคูณเมือง
อินถา ศิริวรรณ
สุทธิพงษ์ ศรีวิชัย
จุฑามาศ วารีแสงทิพย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพด้วยพุทธนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 370 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 คน และสนทนากลุ่ม 8 รูป/คนใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


               ผลการวิจัย พบว่า :


  1. สภาพการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพด้วยพุทธนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง 5 ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการนั่ง การยืน การเดิน การแสดงความเคารพ และการส่งและการรับสิ่งของ

  2. พัฒนารูปแบบการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพด้วยพุทธนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ สภาพแวดล้อมของโรงเรียน หลักการฝึกมารยาทไทย วัตถุประสงค์การฝึกมารยาทไทย ความสำคัญและประโยชน์ของมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพ ส่วนที่ 2 ตัวแบบ ระบบงาน ประเภทมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพ ใน 5 ด้าน คือ ด้านการแสดงความเคารพ การส่งและการรับสิ่งของ การยืน การเดิน การนั่ง กระบวนการจัดการตามวิธีการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพ แนวทางการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพ ด้านการส่งและการรับสิ่งของ โครงการการส่งเสริมการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพด้วยพุทธนวัตกรรมของนักเรียน หลักสังคหวัตถุ 4 ส่วนที่ 3 ขั้นตอนการนำไปใช้ ประกอบด้วย โครงสร้างการบริหาร การตัดสินใจของผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง แนวทางการประเมินตามแบบมารยาทไทย ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จตามบริบทของโรงเรียน

  3. รูปแบบการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพด้วยพุทธนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่ 1 ส่วนนำ ส่วนที่ 2 ตัวแบบ ส่วนที่ 3 ขั้นตอนการนำไปใช้ ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จในการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพด้วยพุทธนวัตกรรมตามองค์ความรู้ PTS

ผลการวิจัย พบว่า :


              ๑. สภาพการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพด้วยพุทธนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ทั้ง ๕ ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการนั่ง ด้านการยืน ด้านการเดิน ด้านการแสดงความเคารพ และด้านการส่งและการรับสิ่งของ


              ๒. พัฒนารูปแบบการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพด้วยพุทธนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย ๔ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ ส่วนนำ สภาพแวดล้อมของโรงเรียน  หลักการฝึกมารยาทไทย วัตถุประสงค์การฝึกมารยาทไทย ความสำคัญของมารยาทไทย และ ประโยชน์ของมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพ ส่วนที่ ๒ ตัวแบบ ระบบงาน ประเภทมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพ ใน ๕ ด้าน คือ ด้านการแสดงความเคารพ ด้านการส่งและการรับสิ่งของ ด้านการยืน ด้านการเดิน ด้านการนั่ง กระบวนการจัดการตามวิธีการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพ แนวทางการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพ ด้านการส่งและการรับสิ่งของ โครงการการส่งเสริมการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพด้วยพุทธนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร หลักสังคหวัตถุ ๔ ส่วนที่ ๓  ขั้นตอนการนำไปใช้ ประกอบด้วย โครงสร้างการบริหาร การตัดสินใจของผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้อง แนวทางการประเมินตามแบบมารยาทไทย ส่วนที่ ๔ เงื่อนไขความสำเร็จตามบริบทของโรงเรียน


              ๓. รูปแบบการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพด้วยพุทธนวัตกรรมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครประกอบด้วย ๔ ส่วนสำคัญ คือ ส่วนที่ ๑ ส่วนนำ ส่วนที่ ๒ ตัวแบบ ส่วนที่ ๓  ขั้นตอนการนำไปใช้ ส่วนที่ ๔ เงื่อนไขความสำเร็จในการฝึกมารยาทไทยส่งเสริมบุคลิกภาพด้วยพุทธนวัตกรรมตามองค์ความรู้ PTS

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. กระทรวงวัฒนธรรม. มารยาทไทย. พิมพ์ครั้งที่ 7 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. 2558.

กระทรวงศึกษาธิการ. การปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์ ร.ส.พ.. 2555.

. คู่มือครูการปฏิบัติงานต้องการครู. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2559.

กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน. พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : กระทรวงศึกษาธิการ. 2560.

ฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฏ์. SME เข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร : ธนาคารกรุงเทพ 2553.

จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. สังคมวิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : แพร่วิทยา. 2553.

จิรพันธ์ พิมพ์พันธุ์ . กลยุทธการพัฒนาโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการปฏิรูปการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิก. 2559.

ชลลดา ทวีคุณ. เทคนิคการพัฒนาบุคลิกภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 7. 2556.

ชลลดา ทวีคุณ. เทคนิคการพัฒนาบุคลิกภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร ซ โอเดียนสโตร์ 2556.

ชัยวัฒน์ อัตพัฒน์ และคณะ. หลักการดำรงชีวิตในสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 2536.

ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์. พูดได้ พูดเป็น. กรุงเทพมหานคร: โอ เอสพริ้นติ้ง เฮาส์. 2529.

ทิศนา แขมมณี. ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2550.

ธงชัย สันติวงษ์. องค์การ และบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 20. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช. 2561.

ธีระ รุญเจริญ. การบริหารโรงเรียนยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ธนาเพลส. 2553.

นงคราญ จันทร์วงษ์ บรรยากาศ และสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา. 2561.

นิตยา เปลื้องนุชง. การบริหารหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2557.

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยทางการวัดผลและประเมินผล. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น. 2545.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. การพัฒนาหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : บริษัทแอคทีฟพริ้น. 2558.