แนวทางการเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์: กรณีศึกษาสถานีวิทยุกระจายเสียง FM ๑๐๐.๒๕ MHz จังหวัดปราจีนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาหลักการเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของสถานีวิทยุ FM 100.25 MHz ในจังหวัดปราจีนบุรี และ(3) เพื่อศึกษาแนวทางการเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของสถานีวิทยุกระจายเสียง FM 100.25 MHz ในจังหวัดปราจีนบุรี พบว่า การเผยแผ่ธรรมะคือการทำให้หลักธรรมคำสอนแพร่ออกไปและนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างแพร่ผ่านสื่อต่างๆ ซึ่งสภาพปัญหาและอุปสรรคของสถานีวิทยุ FM 100.25 MHz คือนักจัดรายการวิทยุไม่มีข้อบังคับอย่างเป็นรูปธรรมไม่มีกรอบในการเป็นนักจัดรายการวิทยุ และขาดหน่วยงานที่กำกับดูแลสนับสนุนด้านบุคลากร ปัญหาด้านการบริหารจัดการภายใน ปัญหาด้านเทคนิคการเผยแพร่ และปัญหาด้านงบประมาณ ส่วนแนวทางการเผยแผ่ธรรมะผ่านสื่อสังคมออนไลน์ประกอบด้วย 1) แนวทางการเผยแผ่ธรรมะผ่านสำหรับผู้ส่งสารผ่านช่องทางสื่อต่างๆ ที่ทันสมัย 2) แนวทางสำหรับสารที่ถ่ายทอดผ่านสื่อออนไลน์มีเนื้อหาที่ทันสมัย 3) แนวทางสำหรับช่องทางการส่งสารผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงของผู้ส่งสารให้ปรากฏแก่ผู้ฟัง และ 4) แนวทางสำหรับผู้รับสาร และแสดงปฏิกิริยาตอบกลับต่อผู้ส่งสารหรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย.ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,๒๕๓๙.
เฉลิมศรี หุนเจริญ. การดำเนินรายการวิทยุกระจายเสียง.ในเอกสารการสอนชุดวิชาการผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง (หน่วยที่ ๘-๑๕). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๖๐.
ชาญวิทย์ ภาแกดำ. “การพัฒนารูปแบบการกระจายเสียงของสถานีวิทยุชุมชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม” วิทยานิพนธ์.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, ๒๕๕๙.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต) . พุทธวิธีในการสอน. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันบันลือธรรม, ๒๕๔๗.
พระมหาชูชาติ จิรสุทฺโธ. “การบูรณาการการสื่อสารเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ของพระสงฆ์ในสังคมไทย”. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๓.
ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์นามมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖.
ลำยอง สำเร็จดี. การศึกษาพฤติกรมการฟังวิทยุพระพุทธศาสนา. วิทยาลัยสงฆ์พุทธชินราชของพระสงฆ์และประชาชน มหาวิยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://urban.cpe.ku.ac.th, [๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๕].
สุดารัตน์ ศรีจันทร์. “การมีส่วนร่วมของนักจัดรายการวิทยุชุมชนกับงานวัฒนธรรม ในจังหวัดอุดรธานี”. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๐.