บทบาททูตวัฒนธรรมของพระนิสิตกัมพูชา ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของพระนิสิตชาวกัมพูชาใน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 2) เพื่อศึกษาบทบาททูตวัฒนธรรมของพระนิสิตชาวกัมพูชามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมบทบาททูตวัฒนธรรมของพระนิสิตชาวกัมพูชาในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นการศึกษาวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า บทบาททูตวัฒนธรรมของพระนิสิตชาวกัมพูชาที่มีบทบาทในหลายๆ ด้านที่คาดหวังหรือบทบาทที่สังคมกำหนดตลอดจนบทบาทในการดำเนินกิจกรรมส่วนใหญ่ทำหน้าที่ของตนเองด้วยความเต็มใจและใส่ใจดูแลให้ความเคารพต่อผู้อื่นเป็นบุคคลที่ควรให้ความเคารพนับถือมีบทบาทสำคัญคือการให้คำแนะนำทางจิตใจ เป็นที่พึ่งทางจิตใจ การประพฤติตนเป็นแบบอย่างเรื่องศีลธรรม จริยธรรมและ รู้จักกาล รู้จักเวลา ยึดมั่นปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น
ส่วนแนวทางการส่งเสริมบทบาททูตวัฒนธรรมของพระนิสิตชาวกัมพูชาเป็นการส่งเสริมพระนิสิตเป็นภารกิจหลักของทูตวัฒนธรรม ในการเผยแพร่วัฒนธรรม ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การเป็นผู้แทนทางวัฒนธรรม ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงตำแหน่งในสังคม รวมไปถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ 1) แนวทางการส่งเสริมบทบาทด้านการศึกษา 2) แนวทางการส่งเสริมบทบาทด้านวัฒนธรรม 3) แนวทางการส่งเสริมบทบาทด้านการดำเนินชีวิต 4) แนวทางการส่งเสริมบทบาทด้านสังคม
ส่วนแนวทางการส่งเสริมบทบาททูตวัฒนธรรมของพระนิสิตชาวกัมพูชาเป็นการส่งเสริมพระนิสิตเป็นภารกิจหลักของทูตวัฒนธรรม ในการเผยแพร่วัฒนธรรม ส่งเสริมศิลปะวัฒนธรรม การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม การเป็นผู้แทนทางวัฒนธรรม ที่จะสะท้อนให้เห็นถึงตำแหน่งในสังคม รวมไปถึงสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบ ๑) แนวทางการส่งเสริมบทบาทด้านการศึกษา ๒) แนวทางการส่งเสริมบทบาทด้านวัฒนธรรม ๓) แนวทางการส่งเสริมบทบาทด้านการดำเนินชีวิต ๔) แนวทางการส่งเสริมบทบาทด้านสังคม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงการต่างประเทศ, อ้างใน พระอภินันท์ ทะสุนทร “พุทธศาสนานิกายเถรวาทในฐานะการทูตเชิงวัฒนธรรมในความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ภูมิภาคศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2550.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย.ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2539.
สมหมาย ชินนาค.การทูตภาคประชาชนกับความมั่นคงของชาติและภูมิภาค: กรณีศึกษาวิถีชีวิตการปรับตัว เครือข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมข้ามชาติและบทบาทในฐานะทูตทางวัฒนธรรมของพระนักศึกษาข้ามแดนชาวกัมพูชาในประเทศไทย.วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน 2552).
อำพา แก้วกำกง. ผลกระทบระหว่างไทย–กัมพูชาและการบูรณาการความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างประเทศ, สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปทุมธาน,2551.