การบริหารแหล่งเรียนรู้ตามหลักพุทธธรรม ในยุคดิสรัปชั่น

Main Article Content

Thanida Pooljarain

บทคัดย่อ

บทความนี้นำเสนอการบริหารแหล่งเรียนรู้ตามหลักพุทธธรรมในยุคดิสรัปชั่น อันเป็น
การบริหารแหล่งเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะศึกษาค้นคว้าหาคำตอบที่สนใจใฝ่รู้ แหล่งเรียนรู้มีทั้งภายในสถานศึกษา และชุมชน แหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษานอกจากห้องเรียน ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ แล้ว สถานที่ทุกแห่งในบริเวณสถานศึกษาจัดเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ และบางครั้งสถานศึกษาอาจจัดเพิ่มเติมสิ่งที่มีอยู่ เช่น จัดเป็นจุดศึกษา สวนการเรียนรู้ ค่ายการเรียนรู้ โดยสถานศึกษาต้อง
จัดการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกิจกรรมอย่างต่อเนื่องระหว่างการเรียนรู้ในห้องเรียนกับแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียน แนวคิดในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ที่กล่าวในเบื้องต้นนั้น จะบังเกิดประสิทธิภาพในเชิงปฏิบัติต้องยึดหลักปรัชญาการเรียนรู้ที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ การบริหารแหล่งเรียนรู้จะให้เกิดเป็นผลงานที่ดีและมีประสิทธิภาพต้องมีหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ให้เข้ากับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงในยุคดิสรัปชั่นด้วย หลักพรหมวิหารธรรม 4 อันเป็นคุณธรรมสำหรับทำให้บุคคลในองค์กรสถานศึกษาพึงประพฤติปฏิบัติในทางอันประเสริฐ และหลักวุฒิธรรม 4 อันเป็นหลักพุทธธรรมในการส่งเสริมสำหรับการบริหารและการปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่มีอุปการคุณสำหรับมนุษย์ทุกคนและเป็นคุณธรรมที่เป็นไปเพื่อความเจริญด้วยปัญญาก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม มาบูรณาการเข้ากับแหล่งเรียนรู้อันจะก่อให้เกิดเป็นรากฐานทางวัฒนธรรมวิถีไทยและเพื่อ
ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ "โลกาภิวัตน์" และ "ดิจิทัลดิสรัปชัน"

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิ่งแก้ว อารีรักษ์, การจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบหลากหลาย, กรุงเทพมหานคร: เมธีทิปส์, 2548.

ชัชฎา อุดมสิทธิ์, การพัฒนารูปแบบการจัดการแหล่งเรียนรู้ภายในโรงเรียนเพชรพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40, วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2561.

ธวัชชัย สุขสีดา. การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในยุควิถีใหม่(NEW NORMAL). วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. 2564.

ปิยะกรณ์ อำนักมณี, "การพัฒนาแหล่งเรียนรู้เสมือน "สวนสัตว์" สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เขตพื้น ที่การศึกษาจังหวัดพิษณุโลกเขต 1", วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2551.

ประเวศ วะสี, จุดเปลี่ยนมหาวิทยาลัยไทย-จุดเปลี่ยนประเทศไทย, ข้อมูลออนไลน์, แหล่งที่มาออนไลน์, https://www.thaipost.net/ [31 มกราคม 2566].

พระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), ธรรมเพื่อการบริหาร, ข้อมูลออนไลน์, แหล่งที่มาออนไลน์, https://www.tungsong.com/Read/principle/p_khunnatam_5.htm. [31 มกราคม 2566].

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2559.

วินัย หริ่มเทศ, กลยุทธ์การบริหารแหล่งเรียนรู้ที่พึงประสงค์ของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 41, วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 2563.

ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์. รับมือโลกยุค “ดิสรัปชั่น”หมดยุคค่อยเป็นค่อยไปต้องรีบปรับให้ทันโลก. แหล่งที่มา ออนไลน์.ttps://www.brandage.com/article/16571/Digita-

Disruption [31 มกราคม 2566].

ศิริกาญจน์ โกสุมภ์, แหล่งการเรียนรู้เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้และหลักสูตรสถานศึกษา 2554, กรุงเทพมหานคร: เสริมสินพรีเพรสชิสเท็ม, 2554.

สาริณี อาษา, วุฒิธรรม 4 : พุทธธรรมส่งเสริมการมีส่วนร่วม, วารสารบวรสหการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2564).

สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ, แนวทางการบริหารการศึกษาในยุคดิจิทัลดิสรัปชั่น, วารสาร Journal of Modern Learning Development, ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 ประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2563.

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ, แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2559), กรุงเทพมหานคร: กราฟฟิค, 2546.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2553, กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2554.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2560 - พ.ศ. 2579,

กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2560.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาชั้นพื้นฐาน, นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ 2561, กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค. 2560.