ธัมมาธิปไตย ธัมมาธิปไตย : พุทธปรัชญาการปกครองไทย

Main Article Content

พีระวัฒน์ ฉัตรไทยแสง
บุญร่วม คำเมืองแสน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


หลักธัมมาธิปไตยเป็นเครื่องมือแนวทางพัฒนาที่มีคุณค่าทั้งต่อปัจเจกบุคคลในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมและต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทย ซึ่งมีหลักยึดมั่นต่อหลักการ กฏกติกา ความจริง ความดีงามและความถูกต้อง โดยการประยุกต์หลักธรรมที่เหมาะสมแก่การพัฒนาความเป็นผู้นำประเทศและองค์กรในระดับต่าง ๆ  และส่งเสริมหลักธรรมคือ ศีลห้าและหลักกุศลกรรมบถเป็นมูลฐานของการพัฒนาบุคคล ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นส่งผลให้มีพฤติกรรมทางกาย ทางวาจา และทางความคิดจิตใจที่ถูกต้องดีงาม ละเว้นการทำชั่วและตั้งมั่นอยู่ในกายสุจริต วาจาสุจริต ใจสุจริต ส่งผลให้ปัญหาจริยธรรมของบุคคลต่าง ๆ พร้อมทั้งปัญหาของระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทยย่อมได้รับการแก้ไขและพัฒนาไปด้วย แม้ว่าคนไทยจะมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไปมากมาย หากยึดมั่นเดินตามแนวทางแห่งหลักธัมมาธิปไตยแล้ว ความคิดเห็นต่างของคนในชาติจะไม่กลายเป็นเครื่องมือในการประหัตประหารและทำความเสียหายทำลายประเทศชาติ แต่จะสามารถนำมาช่วยพัฒนาประเทศให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองเท่าเทียมอารยประเทศอื่นได้ โดยนำหลักธรรมาภิบาลเป็นหลักการบริหารงานเพื่อให้การปกครองในระบอบประชาธิไตยเข้มแข็งและเกิดความร่วมมือกันด้วยความเป็นธรรมและสุจริต หลักธรรมาภิบาลเป็นพุทธปรัชญาการปกครองที่ยึดกฎกติกาความถูกต้องเป็นหลัก และส่งเสริมจริยธรรมของปัจเจกบุคคล จึงเป็นปัจจัยให้ธัมมาธิปไตยเกิดประสิทธิผล ย่อมจะส่งผลให้ระบอบประชาธิปไตยในสังคมไทยมีการพัฒนาและมั่นคงขึ้น


คำสำคัญ: ธัมมาธิปไตย, พุทธปรัชญาการปกครองไทย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2556). พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย. มหามกุฏราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : มหามกุฏราชวิทยาลัย.

เกษียร เตชะพีระ, ปัญหาของประชาธิปไตย: เอกลักษณ์, ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จากhttp://www.people.umass.edu/pokpongj/Interest/interest_kasean_15.htm.

พิสุทธิ์พงศ์ เอ็นดู, วิโรจน์ ทองปลิว. (2562). พุทธอธิปไตย 3 กับมุมมองความเห็นต่าง. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1| มกราคม–มิถุนายน 2562.

พระพุทธศาสนา กับการเมืองและสันติภาพ. ค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565, จาก https://sites.google.com/site/fon5481136057/hnwy-thi-7/7-1

พระธรรมปิฎก (ป.อ ปยุตโต). (2545). วินัยชาวพุทธ : สู่ความสุขมั่นคงของคนที่เข้มแข็ง. กรุงเทพฯ : โรงเรียนรุ่งอรุณ.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ 12.

ภัทระ คำพิทักษ์. (2553). อธิปไตยตามหลักธรรม. โพสต์ทูเดย์/ไลฟ์สไตล์ 21 มีนาคม 2553. ค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2565, จากhttps://www.posttoday.com/lifestyle/17816.

เดชชาติ วงศ์โกมลเชษฐ์. (2508). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: มปพ.

ถวิลวดี บุรีกุลและคณะ. (2545). โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาดัชนีวัดผลการพัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี. นนทบุรี : สถาบันพระปกเกล้า.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2545). การสร้างธรรมาภิบาล (Good Governance) ในสังคมไทย.กรุงเทพฯ : วิญญูชน.

ประยงค์ แสนบุราณ. (2547). ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ศาสนากับการเมืองการปกครอง . ค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2565, จากhttps://sites.google.com/site/metawatee/sasnaphuth/sasna-kab-karmeuxng-kar-pkkhrxng.

อนุชา พละกุล, สุรพล สุยะพรหม, ยุทธนา ประณีต, พระสมุห์อาคม อาคมธีโร, ดาวนภา เกตุทอง. (2563). ธรรมาธิปไตย : แนวคิด ทฤษฎี และการส่งเสริมการตื่นตัวทางการเมืองระบอบประชาธิปไตยของเยาวชน*. วารสาร มจร เพชรบุรีปริทรรศน์, ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2563).