วิเคราะห์การปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฏฐาน: กรณีศึกษาวัดเกาะมะไฟ จังหวัดปราจีนบุรี

Main Article Content

พระภาณุเดช จนฺทโชโต (เรืองสว่าง)

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1 เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติธรรมของผู้ปฎิบัติธรรมวัดเกาะมะไฟ จังหวัดปราจีนบุรี 2 เพื่อศึกษาการปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฏฐาน ของวัดเกาะมะไฟ จังหวัดปราจีนบุรี และ 3 วิเคราะห์การปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฏฐาน ของวัดเกาะมะไฟ จังหวัดปราจีนบุรี พบว่า การปฏิบัติธรรมตามหลักสติปัฏฐาน กรณีวัดเกาะมะไฟ จังหวัดปราจีนบุรี เป็นการปฏิบัติธรรมโดยมีกระบวนการฝึกและพัฒนาตนเองให้รู้แจ้งเห็นจริงรู้เท่าทันธรรมชาติของชีวิต ที่มีความไม่เที่ยงและบังคับไม่ได้ อันเป็นสาเหตุของการเกิดทุกข์ ผู้ที่นำมาปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและถูกต้องจะทำให้เกิดปัญญา เกิดความรู้ ความเข้าใจในรูป-นามตามความเป็นจริง รู้แจ้งในกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีความมั่นคงทางอารมณ์และมีภูมิคุ้มกันทางจิต ช่วยเสริมสุขภาพกาย และสามารถพัฒนาสติปัญญาเพื่อการดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและนำไปสู่การขจัดกิเลส เพื่อการบรรลุมรรค ผล นิพพาน อันเป็นเป็นเส้นทางแห่งการพ้นทุกข์ได้ในที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

นภาพัทธ์ งามบุษบงโสภิน. การพัฒนาชีวิตด้วยการดูจิต. วารสารปณิธาน, ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2565).

พระปลัดสมภาร สมภาโร. “การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ส่งผลต่อการพัฒนาสุขภาพจิตของบุคคล”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2564.

พระพยุง เมธาวี (สืบสราญ). “การประยุกต์ใช้วิปัสสนากรรมฐานวัดราษฎ์บำรุงหนองลี ตำบลโพทะเล อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.

พระมหาใจสิงห์ เถื่อนศรี.“การปฏิบัติธรรม คือวิถีทางสู่ความสุขที่ยั่งยืน”. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม –มิถุนายน 2565).

พระมหาใจสิงห์ เถื่อนศรี.“การปฏิบัติธรรม คือวิถีทางสู่ความสุขที่ยั่งยืน”, วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม –มิถุนายน 2565).

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย.ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,2539.