การบริหารวัดให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้วิถีพุทธในจังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

พระครูวิมลสุวรรณกร (สมพงษ์ จนฺทวโร)
พระครูโอภาส นนทกิตติ์
สมศักดิ์ บุญปู่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการบริหารวัดให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้วิถีพุทธในจังหวัดนนทบุรี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณสอบถามกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน และสนทนากลุ่ม จำนวน 10 รูป/คนใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารวัดให้เป็นพื้นที่การเรียนรู้วิถีพุทธในจังหวัดนนทบุรี ทั้ง 5 ด้านโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ด้านสถาปัตยกรรม ด้านประติมากรรม และด้านจิตรกรรม โดยวัดจัดให้มีการเรียนรู้เรื่องสีที่ใช้ในการวาดภาพจิตรกรรมที่เป็น แหล่งเรียนรู้ของวัด มีการเรียนรู้ภาพคนและภาพสัตว์บนภาพจิตรกรรมของวัด มีการสอบถามและสัมภาษณ์ผู้ที่มาศึกษาหาความรู้ด้านประติมากรรม ให้ความรู้ด้านศิลปะ เช่น การจัดสื่อแสดงความรู้ด้านศิลปะและสถาปัตยกรรมไทย  วัดเปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการศึกษาด้านสถาปัตยกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา, แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา ปี ๒๕๕๗,กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา, ๒๕๕๗.

กรมการศาสนา, แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา ปี ๒๕๕๗, กรุงเทพมหานคร: กรมการศาสนา, ๒๕๕๗.

ทะเบียนวัดในประเทศไทย, [ออนไลน์วันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๖๔], Retrieved from http://www.thammapedia.com/ ceremonial/watthai_bypak.htm

บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : สุริยาสานส์, ๒๕๔๓.

พระครูขันติวโรภาส (ขาว ขนฺติโก), “รูปแบบการพัฒนาวัดในกรุงเทพมหานครให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม”, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม : 2559.

พระครูวัฒนสุตานุกูล, “กระบวนการพัฒนาวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของคณะสงฆ์ไทย”, (บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : 2557.

พระปลัดโฆษิต คงแทนและคณะ “รูปแบบการจัดการศึกษาของวัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน”, ดุษฎีนิพนธ์, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล,๒๕๕๘.

ไพลดา อริรุทธพาณิชย์, “การพัฒนาครูด้านการวิจัยในชั้นเรียนด้วยชุดฝึกอบรมการวิจัยในชั้นเรียน, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 2552.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

เยาวภา ประคองศิลป์, ความจำเป็นของการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน, เอกสารประกอบการเสวนาวิชาการทางการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๔๙.

รังสี สุทนต์ ,พุทธกิจ กิจที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำ.โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,กรุงเทพมหานคร ,๒๕๕๙.

วิกิพีเดีย, จังหวัดนนทบุรี, https://th.wikipedia.org/ [ออนไลน์วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๔]

วิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ, “การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแบบกระจายอํานาจในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวทางพระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒”, วิทยานิพนธ ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, ๒๕๔๗.

สุทธิพงศ์ บุญผดุง, “การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก”, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2558.

เสาวภา ไพทยวัฒน์ และคณะ, “การเปลี่ยนแปลงในชีวิตของสังคมเมืองกับการสร้างรูปแบบศรัทธาการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย : กรณีศึกษา วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม”, รายงานการวิจัย, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 2553.