วิเคราะห์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยหลักภาวนา 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2) ศึกษาหลักภาวนา 4 และ 3) วิเคราะห์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยหลักภาวนา 4 ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร จากพระไตรปิฎก อรรถกถา ตำรา ทฤษฎี และเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำมาวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย
ผลการวิจัยพบว่า
1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการพัฒนาศักยภาพภายในตัวมนุษย์ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่ความสำคัญให้มีศักยภาพมากขึ้น โดยอาศัยกระบวนการฝึกฝน อบรม การศึกษา และการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ พัฒนาด้านร่างกาย ด้านสังคม ด้านอารมณ์ และด้านสติปัญญา 2) หลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนาเป็นการเจริญ การทำให้เป็น-มีขึ้น และการฝึกฝนอบรมเพื่อการพัฒนา 4 ด้าน คือ (1)กายภาวนา คือการพัฒนากายภาพ สิ่งแวดล้อมภายนอกให้แข็งแรง สมดุลไม่เป็นทุกข์เพราะการยึดมั่นสิ่งต่าง ๆ (2) ศีลภาวนา คือการพัฒนาความสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างรู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของโลก และความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ สังคม (3) จิตภาวนา คือการพัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มุทิตา ศรัทธาและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ (4) ปัญญาภาวนา คือการรับรู้ตามความจริง รู้เท่าทันสภาวะเปลี่ยนแปลงของโลกและชีวิต 3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยหลักภาวนา 4 เป็นกรอบหลักการและกระบวนการส่งเสริมให้ผู้พัฒนามีความรู้ ความสามารถ และทักษะการดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายการพัฒนาทำให้เกิดประโยชน์ ๓ คือ (1) ประโยชน์ปัจจุบัน เป็นขั้นแรกที่มนุษย์จะเข้าถึง คือความมั่นคงของชีวิตในปัจจุบัน มีธรรมปฏิบัติคือ อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา และสมชีวิตา (2) ประโยชน์เบื้องหน้า เป็นจุดมุ่งหมายข้างหน้าหรืออนาคต มีธรรมพื่อประโยชน์เบื้องหน้า ได้แก่ ศรัทธาสัมปทา ศีลสัมปทา จาคสัมปทา และปัญญาสัมปทา และ (3) ประโยชน์สูงสุด เป็นขั้นที่เป็นอิสระอยู่เหนือโลกหลุดพ้นจากทุกข์และปัญหาทุกอย่าง
ผลการวิจัยพบว่า
๑) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นการพัฒนาศักยภาพภายในตัวมนุษย์ ซึ่งถือเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญให้มีศักยภาพในตนมากขึ้น โดยอาศัยกระบวนการฝึกฝน อบรม การศึกษา และการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการพัฒนาทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ พัฒนาด้านร่างกาย พัฒนาด้านสังคม พัฒนาด้านอารมณ์ และพัฒนาด้านสติปัญญา
๒) หลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนาเป็นการเจริญ การทำให้เป็นให้มีขึ้น และการฝึกฝนอบรมเพื่อการพัฒนาใน 4 ด้าน คือ กายภาวนา คือการพัฒนาอินทรีย์ที่ต้องติดต่อกับสิ่งภายนอกอย่างชาญฉลาด ไม่เป็นทุกข์เพราะการเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น ศีลภาวนา คือกระบวนการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกอย่างรู้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลก และความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและสังคม จิตภาวนา คือการมีจิตใจที่พัฒนาให้เข้มแข็ง มีคุณธรรม มีปัญญาที่ได้จากการฝึกจิตภาวนา ได้แก่ มีเมตตา กรุณา มุทิตา มีศรัทธาและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และปัญญาภาวนา คือการรับรู้และเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ตามความจริง รู้เท่าทันสภาวะความเปลี่ยนแปลงของโลกและชีวิต
๓) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วยหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนา เป็นกรอบและกระบวนการส่งเสริมให้ผู้ที่พัฒนามีความรู้ ความสามารถ และทักษะการดำเนินชีวิตของตนไปสู่เป้าหมายการพัฒนา ที่ทำให้ถึงประโยชน์ทั้งสาม คือ (๑) ประโยชน์ปัจจุบัน เป็นขั้นแรกที่มนุษย์จะเข้าถึง คือความมั่นคงของชีวิตในปัจจุบัน มีธรรมที่เนื่องกันได้แก่ อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา และสมชีวิตา (๒) ประโยชน์เบื้องหน้า เป็นจุดมุ่งหมายที่เป็นไปในภพหน้า มีธรรมที่เป็นเพื่อประโยชน์เบื้องหน้า ได้แก่ ศรัทธาสัมปทา ศีลสัมปทา จาคสัมปทา และปัญญาสัมปทา และ (๓) ประโยชน์สูงสุด เป็นขั้นที่เป็นอิสระอยู่เหนือโลกอันหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
นพดล สุวรรณสุนทร, หลักการบริหารงานสมัยใหม่ประยุกต์ใช้ควบคู่กับหลักพุทธธรรม, สุพรรณบุรี: วิทยาลัยการอาชีพสองพี่น้อง, ๒๕๕๕.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ชุดคำวัด. พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมสภา, ๒๕๕๑.
พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม (ฉบับเดิม), พิมพ์ครั้งที่ ๑๑, กรุงเทพมหานคร: ดวงแก้ว, ๒๕44.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต), รุ่งอรุณของการศึกษา เบิกฟ้าแห่งการพัฒนาที่ยั่งยืน, (มูลนิธิพุทธธรรม: กรุงเทพมหานคร, ๒๕4๕.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน, ๒๕๕๗.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.).พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๐, (นนทบุรี: โรงพิมพ์กระทรวงสาธารณสุข), ๒๕๕๕.