จิตสำนึกทางจริยธรรมอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา ที่พัฒนาผลงานทางวิชาการตามหลักพุทธธรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับจิตสำนึกทางจริยธรรมของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาที่พัฒนาผลงานทางวิชาการ เพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่และนำไปถ่อยทอดให้กับนิสิต/นักศึกษา โดยจิตสำนึกทางจริยธรรมของอาจารย์เป็นสิ่งที่ควรพึงมีติดตัวอยู่ตลอดเวลา และต้องตระหนักถึงบทบาทและหน้าที่ของความเป็นอาจารย์ในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความศรัทธา ความจริงใจ ความรับผิดชอบและทำอย่างเต็มความสามารถ เพราะหน้าที่ของอาจารย์คือต้อนสอนและทำวิจัยเพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้กับนิสิต/นักศึกษาได้มีความรู้และทักษะจากการฝึกปฏิบัติให้มีความประพฤติดีมีจริยธรรมอย่างชัดเจน ซึ่งได้จากจิตสำนึกทางจริยธรรมในความเป็นอาจารย์ที่ดีมีความรับผิดชอบต่อผู้เรียนหรือนิสิต/นักศึกษา โดยแบ่งจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับคือ 1) จริยธรรมระดับต้น เป็นการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ หรือกติกาของชุมชนหรือวัฒนธรรมของสังคม หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม จึงถือได้ว่า ไม่มีจริยธรรม หรือจริยธรรม เป็น 0 หรือจริยธรรมเป็นลบ เช่น การลักขโมย การทุจริตการสอบ การฉ้อโกง เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย 2) จริยธรรมระดับปานกลาง เป็นการกระทำที่มีจริยธรรม เช่น ความซื่อสัตย์สุจริต มีการปฏิบัติดี มีพฤติกรรมที่ดี ไม่ข่มเหงรังแกคนอื่น หรือสร้างความได้เปรียบคนที่อ่อนแอกว่า 3) จริยธรรมระดับสูง เป็นผู้มีจิตใจเมตตา มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความโอบอ้อมอารี การมีจิตสาธารณะ การรักษาสิ่งแวดล้อม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานนครกระทรวงศึกษาธิการ.
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560. (2560, ตุลาคม 31) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 หน้า 43
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2563. (2563, มิถุนายน 23) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 137 หน้า 20
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องการกำหนดชื่อสาขาวิชาสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการและการเทียบเคียงสาขาวิชาที่เคยกำหนดไปแล้ว พ.ศ. 2561. (2561, มิถุนายน 15) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 หน้า 18
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2562. (2562, มิถุนายน 12) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 หน้า 13
พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ( 2562, เมษายน 16) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 หน้า 1
พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 (2562, พฤษภาคม 1) กิจจานุเบกษา เล่ม 57 หน้า 54
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร : ภาพพิมพ์
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง มาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ 2561. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับ บัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง แนวทางการบริหารเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรอุดมศึกษา พ.ศ.2558. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
อภินันท์ จันตะนี และคณะ. (2558) คู่มือการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร พ.ศ.2558. คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระนครศรีอยุธยา,.
อภินันท์ จันตะนี. (2566) คู่มือการพัฒนาผลงานทางวิชาการ 2566. สำนักวิจัยและนวัตกรรม มูลนิธิ แสง-สีวิชาการ พระนครศรีอยุธยา.