แนวทางการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2

Main Article Content

กนกวรรณ อุทยานิน
พรเทพ รู้แผน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


          บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “ แนวทางการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 ” การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแนวทางการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน และ 2) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน วิธีดำเนินการวิจัยมี 2 ขั้นตอน  คือ ขั้นตอนที่ 1  การสร้างแนวทางการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยการศึกษาเอกสารและตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความตรงเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง และขั้นตอนที่ 2 การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้าฝ่ายวิชาการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2 จำนวน 226 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างสุ่มอย่างง่าย


เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นด้านความเหมาะสมเท่ากับ 0.95 และด้านความเป็นไปได้เท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที


          ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ประกอบด้วย กระบวนการ 5 ขั้นตอน มีรายการปฏิบัติรวมทั้งสิ้น 62  รายการปฏิบัติ คือ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มี 16 รายการปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 2 การเสริมสร้างความรู้ในการปฏิบัติการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มี 12 รายการปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 3 การปฏิบัติการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มี 14 รายการปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มี 9 รายการปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 5 การเผยแพร่ขยายผลงานการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน มี  11 รายการปฏิบัติ และ 2) แนวทางการนิเทศภายในแบบร่วมพัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พระนครศรีอยุธยา เขต 2  ทั้ง 5 ขั้นตอนรวม 62 รายการปฏิบัติ มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 3.50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรองทอง จิรเดชากุล. คู่มือการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : ธารอักศร , 2550.

ไพลิน สุมังคละ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนการสอน สำหรับครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2559.

ศิริวรรณ์ ฉายะเกษตริน. “การนิเทศแบบร่วมพัฒนา,” วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี. 3(1) : 70 - 73 ; เมษายน – กันยายน 2552 , 2552.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 2. แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ 2564. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยาเขต 2 , 2563.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัด การศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด , 2553.

อุทัย บุญประเสริฐ. การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน. กรุงเทพ : โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย , 2546.