คุณภาพชีวิตการทำงานกับความมั่นคงทางสังคมของแรงงานข้ามชาติ

Main Article Content

หริรักษ์ อินทรสุวรรณ
ณัฐวีณ์ บุนนาค

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานข้ามชาติ 2) เพื่อศึกษาระดับความมั่นคงทางสังคมของแรงงานข้ามชาติ และ 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานข้ามชาติจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความมั่นคงทางสังคมของแรงงานข้ามชาติ  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ  กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแรงงานข้ามชาติสัญชาติพม่าที่เข้ามาประกอบอาชีพในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ได้รับอนุญาติทำงาน จำนวน 400 คน   สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ค่าสถิติที, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การหาความสัมพันธ์ด้วยการทดสอบค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการทดสอบความแตกต่างรายคู่


ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาพรวมคุณภาพชีวิตการทำงาน อยู่ในระดับปานกลาง 2) ภาพรวมความมั่นคงทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง 3) การเปรียบเทียบระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานข้ามชาติจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ ทักษะการสื่อสารภาษาไทย และสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยในประเทศไทยที่แตกต่างกัน ไม่นำไปสู่คุณภาพชีวิตการทำงานที่แตกต่างกัน ส่วนอายุ  สถานภาพ วุฒิการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาในการทำงานที่แตกต่างกัน นำมาสู่คุณภาพชีวิตการทำงานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) การทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงทางสังคมกับคุณภาพชีวิตการทำงานภาพรวม มีความสัมพันธ์ในทุกด้านและเป็นความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการจัดหางาน. 2563. สถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจำเดือน เมษายน 2563. สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กลุ่มงานพัฒนาระบบควบคุมการทำงานของคนต่างด้าว ฝ่ายสารสนเทศ.

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน, สำนักงานคุ้มครองแรงงาน. (2550). แนวทางการดำเนินงานกองทุนเงินสะสมและเงินสมทบในกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง. โครงการศึกษาวิจัย : บริษัท เอ็กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจเม้นท์ จำกัด.

กัลยา นามสงวนและคณะ. (2561). คุณภาพชีวิตแรงงานข้ามชาติ. งบประมาณโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

ขวัญชนก พันธุฟัก. (2557). การสื่อสารและการปรับตัวของแรงงานพม่าในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ดวงกมล กุหลาบอ่ำ. (2562). คุณภาพชีวิตในการทำงานส่งผลต่อความสุขในการทำงานของแรงงานต่างด้าว บริษัท ลอสคัม (ประเทศไทย) จำกัด. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

ประสิทธิ์ จันสมดี. (2560). การศึกษาคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจและสังคมของแรงงานต่างชาติในกลุ่ม CLMV ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ผจญ เฉลิมสาร. (2651). คุณภาพชีวิตการทำงาน. สืบค้นจากแหล่ง http://www.moe.go.th/

Moe/th/news/detail.php?NewsID=12168&Key=news_research เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566.

พระอธิการสุพัฒน์ ฐิติธมฺโม (เตกิงสุข). (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างชาติในจังหวัดสระแก้ว. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พวงเพชร สุขประเสริฐ. (2565). คุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าว กรณีศึกษาตลาดไท จังหวัดปทุมธานี. วิทยาการจัดการวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 เดือน พฤษภาคม – สิงหาคม 2565.

พิเชษฐ์ กัณหะเสน. (2559). คุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย : กรณีศึกษา แรงงานต่างด้าวสัญชาติพม่า อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

พิมพ์นภัส โภคา. (2550). การปรับตัว การสนับสนุนทางสังคม กับคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างชาติในอำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาชุมชน) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มนัสวี อรชุนะกะ. (2562). หน่วยที่ 3 ความมั่นคงมนุษย์ ในเอกสารการสอนประจำชุดวิชา 82427 การพัฒนามนุษย์ในบริบทโลก. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มสธ.

มิร่า ซัน (MIRA SON). (2559). คุณภาพชีวิตของแรงงานข้ามชาติที่มาทำงานก่อสร้างในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม คณะรัฐศาสตรและนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศูนย์วิจัยกสิกร. (2562). “สถานการณ์แรงงานต่างด้าวในประเทศไทย”. สืบค้นจากแหล่ง : https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documetns/foreign - workers – regulation - for – business_Full.pdf. เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563.

สนิท สัตโยภาส. (2559). แรงงานต่างด้าวกับความมั่นคงทางสังคม. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2559.

อาจินต์ สงทับ. (2560). การพัฒนาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานต่างด้าวในอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. ปีที่ 11 ฉบับที่ 12 ประจำเดือน พฤษภาคม-สิงหาคม 2560.

อาทิตย์ปุระ สุวรรณรัตน์. (2553). ทัศนะของแรงงานข้ามชาติในจังหวัดนครศรีธรรมราชที่มีต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ การเมืองและการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยบูรพา.

อำพร ธงชมเชย. (2558). ความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานร่วมกันของแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติในธุรกิจอู่ต่อเรือ. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.