การพัฒนาชุดความรู้ในพระไตรปิฎกเพื่อเสริมสร้างความสุข ของบุคลากรในองค์กรธุรกิจ

Main Article Content

ศิริพรรณ ตันติวิวัฒน์พันธ์
อุทัย สติมั่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาความสุขตามพระไตรปิฎก 2) เพื่อศึกษาความสุขของบุคคลากรในองค์กรธุรกิจ และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบชุดความรู้ในพระไตรปิฎกเพื่อเสริมสร้างความสุขของบุคคลากรในองค์กรธุรกิจ รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงผสานวิธี (Mixed Method Research) ด้วยรูปแบบการวิจัยแบบขั้นตอนเชิงสำรวจ (Exploratory Sequential Design)  ขั้นตอนแรกเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยวิธีการศึกษาเชิงเอกสาร (Documentary Research) ผลผลิตที่ได้คือองค์ความรู้เกี่ยวกับความสุขในพระไตรปิฎก ส่วนขั้นตอนที่สองเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) เพื่อยืนยันประสิทธิผลของชุดความรู้ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยจัดอบรมกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานองค์กรเอกชน จำนวน 30 ราย มีการวัดผลสัมฤทธิ์จากดัชนีชี้วัดความสุขในการทำงานทั้ง 9 มิติ ทั้งก่อนและหลังการอบรม  และติดตามผลการอบรมเป็นระยะ สถิติที่ใช้เป็น  ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ อนุมานด้วยสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า


  1. การพัฒนาความสุขตามพระไตรปิฎกโดยการวิเคราะห์จากคณกโมคคัลลานสูตรและและในกีฎาคิริสูตรกล่าวถึง สัทธานุสารีบุคคล ผู้วิจัยสร้างผังมโนทัศน์ 3 แบบ คือ 1) ผังมโนทัศน์”การพัฒนาชุดความรู้ในพระไตรปิฎกเพื่อเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรธุรกิจ” 2) มโนทัศน์ “ชุดความรู้เรื่อง ศีล: การพัฒนาทางกาย” และ 3) มโนทัศน์ .ชุดความรู้เรื่อง “อบรมจิตและปัญญา เพื่อพัฒนาความสุข”

  2. ภาพรวมความสุข (Total Happiness) ทั้ง 9 มิติ ของบุคลากรที่เข้าอบรม พบว่า หลังผ่านการอบรมบุคลากรมีค่าเฉลี่ยภาพรวมความสุขเพิ่มขึ้น เท่ากับ 67.3 คะแนน (ความสุขในระดับปกติทั่วไป) มากกว่าค่าเฉลี่ยภาพรวมความสุขก่อนอบรม เท่ากับ 46.8 คะแนน (ความสุขในระดับต่ำกว่าปกติทั่วไป) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .001 หมายความว่าบุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้มีพัฒนาการความก้าวหน้าด้านความสุขเชิงบวกเพิ่มขึ้น

  3. ดัชนีประสิทธิผลของการอบรมหลักสูตร “การฝึกสติตามแนวทางสัทธานุสารีเพื่อสร้างปัญญาและสันติสุขสำหรับพนักงานองค์กร” วัดจากภาพรวมความสุขทั้ง 9 มิติของบุคลากร มีค่าเท่ากับ 0.279 หรือคิดเป็น ร้อยละ 27.9 หมายความว่า หลักสูตรการอบรมนี้มีผลสัมฤทธิ์เชิงบวกต่อความก้าวหน้าในการพัฒนาความสุขของผู้ผ่านการอบรมในทิศทางเชิงบวกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 27.9

การวิจัยนี้ได้สร้างนวัตกรรมองค์ความรู้จากการนำหลักธรรมคำสอนเกี่ยวกับการสร้างความสุขที่ปรากฎในพระไตรปิฎกมาบูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ด้านการบริหารจัดการความสุขของบุคคลในองค์กรร่วมกับกระบวนการพัฒนาชุดความรู้ด้วย ADDIE Model ผู้วิจัยใช้ชื่อว่า “ชุดความรู้ในพระไตรปิฎกเพื่อเสริมสร้างความสุขของบุคลากรในองค์กรธุรกิจ” บุคลากรที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนี้จะมีผลสัมฤทธิ์การพัฒนาความสุขเชิงบวกเพิ่มขึ้น พร้อมนี้ได้จัดทำชุดความรู้นี้ในรูปแบบ e-book พร้อมคลิปวิดิโอ สามารถดาวน์โหลดได้แบบฟรีลิขสิทธิ์ สำหรับบุคคล หน่วยงานและองค์กรบริษัทที่สนใจทั่วไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจ

สุขภาพจิต(ความสุข) ของคนในประเทศไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกบล็อก, 2564.

พระมหาปิยภัทร์ จิรปุณญโชติ.“การพัฒนารูปแบบบทเรียนออนไลน์ รายวิชาวัฒนธรรมเพื่อชีวิตสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี”. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,2555.

พระมหาสุพจน์ สุเมโธ (พานทอง). “ไตรสิกขาสู่การพัฒนาการเรียนรู้”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศ์ฯ ปีที่ 2 ฉบับที่2 (พฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2546): 82-93.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร และคณะ. “การสร้างและพัฒนาตัวชี้วัดความสุขของประชาชนตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา”. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2558.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.

วัชรพล วิบูลยศริน. “ประยุกต์ใช้ ADDIE Model ในหลักการออกแบบการสอนบนเว็บ เพื่อการสอนสนทนาภาษาไทยเบื้องต้นสำหรับชาวต่างประเทศ”. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2557).

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต และคณะ. คู่มือการวัดความสุขด้วยตนเอง (Happinometer: The Happiness Self Assessment). พิมพ์ครั้งที่1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555).

ศิริพรรณ ตันติวิวัฒนพันธ์.“ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมตามหลักไตรสิกขากับความสุขของบุคลากรในองค์กรเอกชน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีวิตและความตาย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.

สุพิชญา วงศ์วาสนา. “ปัจจัยผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายการโดยสาร กรณีศึกษา บริษัทบางกอกไฟลท์ เซอร์วิสเซล จำกัด (BFS)”. วารสารรัชต์ภาคย์ .ปีที่15 ฉบับที่ 39 (มีนาคม – เมษายน 2564): 15-30.

โสวิทย์ บำรุงภักดิ์. “การพัฒนาความสุขของคนไทยตามหลักพุทธศาสนา”. วารสารปณิธาน. ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม-ธันวาคม 2563); 128.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. ผลการสำรวจความสุขคนทำงาน(ในองค์กร)ปี 2561 ไตรมาส1 (มกราคม -มีนาคม 2561). พิมพ์ครั้งที่1. นนทบุรี: บริษัท อัพทรูยู ครีเอทนิว จำกัด, 2561.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 55.

กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2562.

Nastasi, B.K. and Schensul, S.L.. “Contributions of qualitative research to the validity of intervention research”. School Psychology. Vol.43 No.3 (2005): 177-195.

Peterson (2003) Peterson, C.. “Bringing ADDIE to Life: Instructional Design at Its Best".

Educational Multimedia & Hypermedia. Vol.12 No.3 (2003): 227-241.

TIME Magazine. The science of Meditation, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: http://www.chombunghospital.com/cbhsite/index.php/blog/k2/item/11-sci [August 2003].