การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของวัดที่เอื้อต่อการเรียนรู้ สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมในจังหวัดปทุมธานี

Main Article Content

พระมหาเศรษฐวิชญ์ เสฏฺฐวิชฺโช (ถิระศรุตานันท์)

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยวิทยานิพนธ์เรื่อง “การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของวัดที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมในจังหวัดปทุมธานี” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของวัดที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมในจังหวัดปทุมธานี 2) วิเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของวัดที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมในจังหวัดปทุมธานี และ 3) เสนอแนวทางการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของวัดที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมในจังหวัดปทุมธานี    เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีระหว่างงานวิจัยเชิงปริมาณและงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พระภิกษุและสามเณรจำนวน 313รูป เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และสัมภาษณ์พระผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 รูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า


1 ผลการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของวัดที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมในจังหวัดปทุมธานี ทั้ง 3 ด้าน ภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทุกด้าน  โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) ด้านกายภาพ 2) ด้านวิชาการ และ 3) ด้านการบริหารจัดการ


2 ผลการวิเคราะห์แนวทางการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมของวัดที่เอื้อต่อการเรียนรู้สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมในจังหวัดปทุมธานี 1) ด้านกายภาพ ควรจัดวางอาคารและตันไม้ มีรั้วรอบขอบชิด ปลอดภัยและมั่งคง ปลูกต้นไม้ที่หาง่าย จัดการขยะให้ถูกต้องเหมาะสม 2) ด้านวิชาการ ควรมีที่อบรมเป็นสัดส่วน เอื้อต่อการเรียนรู้ทั้งปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ จัดบวชทุกเดือนเพื่อสร้างศาสนทายาท 3) ด้านการบริหารจัดการ ควรมีกฎระเบียบเป็นแนวทางให้ปฏิบัติ บริหารจัดการวัดให้สัปปายะ พัฒนาคน งาน และเงินให้เหมาะสม


3 แนวทางด้านกายภาพ พบว่า 1) ผังอาคารสถานที่ ระวังเรื่องเสียง กลิ่น ทิศทางลม 2) มีป้ายและถังขยะทุกประเภท 3) การปลูกต้นไม้ หาง่ายและโตเร็ว ร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม   ด้านวิชาการ พบว่า 1) มีที่อบรมเป็นสัดส่วน เอื้อต่อการเรียนรู้ ทั้งด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ 2) มีห้องสมุดที่ทันสมัย สามารถทบทวนบทเรียนได้ 3) จัดบวชพระภิกษุสามณรใหม่ทุกเดือน เพื่อสร้างศาสนทายาท สืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงสืบไป   ด้านการบริหารจัดการ พบว่า 1) บริหารจัดการสัปปายะสี่ 2) บริหารปัจจัยตั้งกองทุนต่างๆ 3) หลักการออกแบบสถานที่คือ ใช้วัสดุมีคุณภาพ สร้างให้ทนทาน สมถะเป็นระเบียบ มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการเรียนรู้ ห่างจากเสียงรบกวน สร้างบรรยากาศที่ปลอดโปร่ง ภูมิทัศน์สวยงาม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พระครูโพธิธรรมานุศาสก์. “แนวทางการส่งเสริมการใช้หลักพุทธธรรมเพื่อลดอบายมุขในช่วง

เทศกาลเข้าพรรษาในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม”. Journal of Modern Learning Development, ปีที่ 5 ฉบับที่ 6 (พฤศจิกายน – ธันวาคม 2563), หน้า184-198.

พระชัยยนต์ สิริปุญฺฺโญ (นามธรรม). “หลักอบายมุขในพระพุทธศาสนาเถรวาทเพื่อนำไป

ประยุกต์ในชีวิตประจำวัน”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนาและปรัชญา. (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 2560). หน้า 2.

พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต), พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 11

(กรุงเทพมหานคร: บริษัท ศรีธนาเพอร์เฟคท์ จำกัด}2548). หน้า 319.

________ , พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 10, (กรุงเทพมหานคร:

บริษัทสื่อตะวัน จำกัด, 2542). หน้า 309.

พระราชนันทมุนี (ปัญญานันทภิกขุ). ทางเสื่อมของชีวิต. (กรุงเทพมหานคร: บริษัทโรงพิมพ์

สมิตร จำกัด, 2524 ). หน้า 45.

พระสุชีพ วรญาโณ (อินทร์สำราญ). “การพัฒนาคุณภาพสังคมด้วยการงดเว้นจากการดื่มสุรา

และเมรัยตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาและปรัชญา. (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย, 2558). หน้า 1.

อบายมุข 6 อย่างและโทษของอบายมุข, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.Thaihealth

life.com/อบายมุข/ [15 มิถุนายน 2564].