การเสริมสร้างศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน 4 : กรณีศึกษาวัดบ้านกระทิง ตำบลหินโคน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน 4: กรณีศึกษาวัดบ้านกระทิง ตำบลหินโคน อำเภอลำปลายมาศจังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาศรัทธา 4 ในคัมภีร์พุทธศาสนาเถรวาท (2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 (3) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน 4: กรณีศึกษาวัดบ้านกระทิง ตำบลหินโคน อำเภอ ลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า การเสริมสร้างศรัทธาในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน 4 ของวัดบ้านกระทิง ตำบลหินโคน อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ มีขั้นตอนการปฏิบัติโดยเริ่มจากการสมาทานศีล การรับกัมมัฏฐาน การปฏิญาณถวายตนแด่พระพุทธเจ้า การอธิษฐานจิต นั่งสมาธิเจริญวิปัสสนาเพื่อให้เห็นทั้งความเกิด-ดับ เป็นต้น ส่วนการเสริมสร้างศรัทธาต่อการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ประกอบด้วย 4 ฐาน คือ 1) ฐานกาย เน้นให้ผู้ปฏิบัติทำความดี มีสติอยู่กับตัวตลอดเวลา 2) ฐานเวทนา เมื่อมีเวทนา 3 เกิดขึ้น เน้นให้มีสติรู้เท่าทันการเกิด-ดับของทุกข์ จนจิตไม่ยึดติดับทุกขเวทนา 3) ฐานจิต เน้นการทำให้จิตสงบนิ่ง ไม่ร้อนใจหรือดีใจมากเกินไป สร้างจิตศรัทธาให้เกิดกับผู้ปฏิบัติธรรม 4) ฐานธรรม เน้นการพิจารณาดูสิ่งปรุงแต่งจิตตามที่ปรากฏและดับไปจนเชื่อมั่นธรรมที่เกิดจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ไม่ลังเลสงสัย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2535.
_________.พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร), คู่มือการศึกษา อภิธรรม ปริจเฉทที่ 1 จิตปรมัตถ์,
พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด, 2537.
ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี, “หลักปฏิบัติพิจารณาปฏิจสมุปบาท”, โครงการธรรมศึกษาวิจัย:
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2551.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต), พุทธธรรม ฉบับขยายความ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย, 2556.
พระครูเกษมธรรมทัต (สุรศักดิ์ เขมรสี), วิปัสสนาภูมิ, พิมพ์ครั้งที่ 5, กรุงเทพมหานคร:
บริษัท บุญศิริการพิมพ์ จำกัด, 2548.
พระครูพิพิธสารคุณ, ประวัติพระสังฆาธิการ เพื่อขอพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์, กรุงเทพมหานคร:
บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด, 2532.
พระครูพิพิธสารคุณ, คู่มือทำวัตรเช้า-เย็น แปลไทย และสวดมนต์พิเศษบางบท, กรุงเทพมหานคร:
บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด, 2550.
พระเกษม คมฺภีโร, พะหุลานุสาสะนี พระองค์ทรงสอนมากที่สุด, กรุงเทพมหานคร: บริษัทบพิธ
การพิมพ์ จำกัด, 2533.
พระครูพิพิธสารคุณ, ประวัติพระสังฆาธิการ เพื่อขอพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์, กรุงเทพมหานคร:
บริษัทบพิธการพิมพ์ จำกัด, 2532.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, หลักสูตรและประมวลการสอบวิชาธรรม,
กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2540.
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542, กรุงเทพมหานคร :
นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2546.
สุมน อมรวิวัฒน์, การสอนโดยสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ โครงการตำรา คณะคุรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ม.ป.ป., กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, 2530.