แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ตามหลักขันติธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม ๑

Main Article Content

พระมหาวิริทธิพล วีริทฺธิชโย (อภิวิชญ์ชลชาติ)

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยวิทยานิพนธ์เรื่อง “แนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ตามหลักขันติธรรมของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม ๑” มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม ๑ ๒) เพื่อศึกษาหลักการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ตามหลักขันติธรรม สำหรับ ผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาและ ๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ตามหลักขันติธรรมของผู้บริหาร โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม ๑ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี  ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันและปัญหาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา กลุ่ม ๑ โดยภาพรวม พบว่า มีระดับความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับสูงกว่าปกติ โดยเรียงลำดับระดับการปฏิบัติจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านดี ด้านสุข และด้านเก่ง ตามลำดับ วิธีการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา บูรณาการหลักขันติธรรม และใช้ฆราวาสธรรม เป็นบทฝึก โดยพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีด้วยสัจจะ พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่งด้วยทมะและขันติ พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านสุขด้วยจาคะ เสนอแนวทางการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์ตามหลักขันติธรรมของนักเรียนโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่ม ๑ ประกอบด้วย ๑) ฝึกพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีด้วยสัจจะ ผ่านกิจกรรมที่ทำให้ผู้บริหารได้ฝึกควบคุมความอยาก และควบคุมอารมณ์ได้รู้จักเห็นใจ ห่วงใย รู้จักแบ่งปันและช่วยเหลือผู้อื่นว่าอะไรถูกผิด รู้จักยอมรับผิด และปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสังคม ๒) ฝึกพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่งด้วยทมะและขันติ ผ่านกิจกรรมที่ทำให้ผู้บริหารได้ฝึกสร้างความกระตือรือร้น ใฝ่รู้ฝึกให้ปรับตัวได้ง่ายให้มีความกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม ๓) ฝึกพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ด้านสุขด้วยจาคะ ผ่านกิจกรรมที่ทำให้ได้ฝึก การสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ความพึงพอใจในตัวเอง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. คู่มือการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม – บาลี. กรุงเทพมหานคร: การศาสนา, ๒๕๔๑.

จวน อุฏฐายีมหาเถร. อนุสรณ์งานศพสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ๒๕๔๔.

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. EQ ดี อารมณ์ดี ชีวีสดใส. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี.พริ้นท์(๑๙๙๑) จำกัด, ๒๕๔๗.

ป.หลวงสมบูรณ์. พจนานุกรมบาลี-ไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, ๒๕๑๙.

พุทธทาสภิกขุ.ทศพิธราชธรรม. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา, ๒๕๓๗.

พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ). อริยศีลธรรม (ชุดธรรมโฆษณ์). สุราษฎร์ธานี: ธรรมทาน มูลนิธิจัดพิมพ์, ๒๕๒๐.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). เจตโกศลหรือปรีชาอารมณ์ (Emotional Intelligence). รวม บทความวิชาการ EQ. กรุงเทพมหานคร : DESKTOP, ๒๕๔๕.

_______. จาริกบุญจาริกธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๔. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม, ๒๕๔๓.

_______. พจนนุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์.

พระธรรมธีราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ ป.ธ.๙). มงคล ๓๘ ประการ. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๔๒.

พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่๓. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย, ๒๕๒๙.