แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักอริยสัจ 4 ของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พระมหาดุริยะ กิตฺติสาโร (สังโยฆะ)

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อวิเคราะห์วิธีการพัฒนาการเรียนการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักอริยสัจ 4 ของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักอริยสัจ 4 ของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามและสัมภาษณ์ โดยมีประชากรเป็นครู จำนวน 158 คน วิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการเรียนการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร สรุปภาพรวมทั้ง 6 ด้าน ครูมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านเนื้อหาหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่ออุปกรณ์ ด้านกิจกรรม ด้านการวัดประเมินผล และการเรียนการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ 5 รูปแบบ 2) วิธีการพัฒนาการเรียนการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักอริยสัจ 4 ของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยปรับเนื้อหาสาระให้มีความทันสมัย ศึกษาการใช้เทคโนโลยีในการจัดการสอนและการผลิตสื่อให้หลากหลาย เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเองตามความสามารถจากสิ่งที่เรียน 3) แนวทางการพัฒนาการเรียนการสอนในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ตามหลักอริยสัจ 4 ของครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร    ควรปรับเนื้อหาสาระให้สอดคล้องกับยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ จัดเตรียมแผนการสอนและสื่อการสอนล่วงหน้าให้ชัดเจน พัฒนารูปแบบกิจกรรมให้หลากหลายวิธีโดยใช้เทคโนโลยีให้มากตามบริบทของสถานการณ์และสถานศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้มากที่สุด สามารถคิดวิเคราะห์และประเมินตนเองได้ทันทีเมื่อมีการเรียนรู้เกิดขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ภารดี อนันต์นาวี. หลักการแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มนตรี จำกัด, 2552, หน้า 321.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ. รายงานผลการ บริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล. 2561, หน้า 80.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. แนวทางการจัดการเรียนการ สอนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานใน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ปีการศึกษา 2563. นนทบุรี: บริษัท คิว แอดเวอร์ไทซิ่ง จํากัด. หน้า คำนำ.

พระพรสำราญ สมาจิตฺโต. “ศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการ บริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครปฐม เขต 1”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2557. หน้า 1.

พระวรกร ขนฺติวโร. “การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาโรงเรียนประถมศึกษา วัดสีสุก เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช วิทยาลัย, 2557. หน้า 1.

เทื้อน ทองแก้ว. “การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19”.

วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์ JOURNAL OF TEACHER PROFESSIONAL DEVELOPMENT. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2563): 7.

ภูษิมา ภิญโญสินวัฒน์. จัดการเรียนการสอนอย่างไรในสถานการณ์โควิด-19. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://tdri.or.th/2020/05/examples-of-teaching-and-learning-in-covid- 19-pandemic/. [5 มิถุนายน 2565].

ศิริพรรณ รัตนะอำพร (มูลนิธิยุวพัฒน์). การศึกษาในยุค Covid-19. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.yuvabadhanafoundation.org/th/ข่าวสาร/บทความทั่วไป/การศึกษาcovid-19 [5 มิถุนายน 2565].