ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 1

Main Article Content

ณัชชา คุ้มเงิน
สงวน อินทร์รักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 2) ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 จำนวน 92 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลโรงเรียนละ 2 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูจำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหาร ตามแนวคิดของสัมฤทธิ์ กางเพ็ง และประสิทธิผลของโรงเรียนตามแนวคิดของลูเนนเบิร์กและออนสไตน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิต จากมากไปน้อย ได้ดังนี้ 1) ด้านมุทิตา 2) ด้านกรุณา 3) ด้านเมตตา และ 4) ด้านอุเบกขา

  2. ประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด โดยเรียงลำดับค่ามัชฌิมเลขคณิตจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) ด้านความทุ่มเทเวลาในการทำงาน 2) ด้านพันธกิจของโรงเรียนมีความชัดเจน 3) ด้านความคาดหวังที่สูง 4) ด้านภาวะผู้นำด้านวิชาการ 5) ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้าของนักเรียน 6) ด้านความสัมพันธ์เชิงบวกกับผู้ปกครอง และ 7) ด้านสภาพแวดล้อมเป็นระเบียบและปลอดภัย

  3. ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1 มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งมีความสัมพันธ์ในลักษณะคล้อยตามกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพรรณ วุฒิอำพล. “ทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1”. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.

จันทรานี สงวนนาม. ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค พ้อยท์, 2553.

ชวภาพัณณ์ อนัญสถิตพัฒน์. “ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดฉะเชิงเทราสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา, 2560.

นิวัฒน์ ทรหาญ. “ภาวะผู้นำเชิงพุทธของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการศึกษา กลุ่มพัฒนาคุณภาพ การศึกษาม่วงสว่าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3.” สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2561.

พระครูสุตวรธรรมกิจ. ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์, 2561.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คไทม์, 2550.

. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 34. กรุงเทพมหานคร: การศึกษาเพื่อสันติภาพพระธรรมปิฎก, 2559.

พระมหาพระรจน์ อภิปุญโญ. “การศึกษาวิเคราะห์ภาวะผู้นำเชิงพุทธของเจ้าอาวาส : กรณีศึกษาเจ้าอาวาสในอำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2561.

พระมหาสมัย ผาสุกโก และสัมฤทธิ์ กางเพ็ง. ภาวะผู้นำเชิงพุทธ. มหาสารคาม: อภิชาติการพิมพ์, 2557.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116, ตอนที่ 74 ก (19 สิงหาคม 2542): 4.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 123, ตอนที่ 40 ก (6 เมษายน 2560): 14-15.

วีรพงษ์ ไชยหงส์. ประสิทธิผลของโรงเรียน. เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://drweerapong.blogspot.com/2015/02/blog-post_59.html

ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559.

สุวิมล มธุรส, กิตติ รัตนราษี และอนันต์ อุปสอด. “การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทของผู้บริหารสถานศึกษา.” วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง 8, 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2562): 268.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง. ภาวะผู้นำเชิงพุทธ. พิมพ์ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: อภิชาตการพิมพ์, 2562.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค, 2560.

อมรา เมฆฉาย. “พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน ในสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงธนใต้” (ฃวิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2559.

อาภรณ์ อ่อนคง. ประสิทธิล. เข้าถึงเมื่อ 25 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://aporn123.blogspot.com/2013/06/blog-post_28.html

เอกชัย กี่สุขพันธ์ และคณะ. การนำองค์การและเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.

Best, John W. Research in Education. New York: Prentice, 1970.

Cronbach, Lee J. Essentials of Psychological Testing. 3rded. New York : Harper and Row Publisher, 1974.

Krejicie, Robert V. and Daryle W. Morgan, “Determining Sample Size for Research Activities.” Journal for Education and Psychological Measurement 3, 7 (November, 1970): 608.

Likert, Rensis. New Pattern of Management. New York : McGraw–Hill, 1992.

Lunenburg, Fred C. and Allen C. Ornstein. Educational Administration: Concepts and Practices. 6thed. Belmont CA: Wadsworth Cengage Learning, 2012.