แนวทางการสืบทอดประเพณีการตีก๋องปูจาจังหวัดน่าน

Main Article Content

มณี มณเฑียร
โสภณ บัวจันทร์
สว่างจิต ขันตี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมาและคุณค่าของประเพณีการตีก๋องปูจาในกลุ่มจังหวัดล้านนา 2) ศึกษาสภาพปัญหาของการสืบทอดประเพณีการตีก๋องปูจาจังหวัดน่าน และ 3) นำเสนอแนวทางการสืบทอดประเพณีการตีก๋องปูจาจังหวัดน่าน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์เนื้อหาและการนำเสนอเชิงพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่า ประเพณีการตีก๋องปูจามีประวัติความเป็นมาผ่าน 4 ยุคสมัย คือ 1) ยุคก่อนประวัติศาสตร์ล้านนา   ก๋องใช้ในพิธีกรรมทางภูติผีและจิตวิญญาณ 2) ยุคประวัติศาสตร์ล้านนา ก๋องใช้ในการศึกสงครามและพิธีกรรมทางศาสนา 3) ยุคพระพุทธศาสนา ก๋องใช้ในการสื่อสารระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร และ 4) ยุคปัจจุบัน ก๋องใช้ในกิจกรรมและประเพณีทางศาสนาและสังคม ก๋องปูจา ยังมีคุณค่า 5 ด้าน ได้แก่ 1) วัฒนธรรม ที่เชื่อมโยงความเชื่อกับวิถีทางพระพุทธศาสนา 2) การศึกษา ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ประเพณี 3) การท่องเที่ยว ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว 4) เศรษฐกิจ ที่สร้างรายได้จากการพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ และ 5) สังคม ที่เป็นเครื่องมือสื่อสารและจัดระเบียบทางสังคมสภาพปัญหาการสืบทอดประเพณีมี 3 ด้าน คือ 1) ปัญหาด้านวัสดุอุปกรณ์ ที่ชำรุดและไม่เพียงพอ 2) ปัญหาด้านผู้นำ ผู้ฝึกสอนและวิทยากร ที่มีไม่เพียงพอ และ 3) ปัญหาด้านองค์ความรู้และหลักสูตรการสอน ที่ขาดคู่มือสำหรับการศึกษาและถ่ายทอด และแนวทางการสืบทอดประเพณีการตีก๋องปูจามี 3 แนวทาง คือ 1) การสืบทอดด้านวัสดุอุปกรณ์ โดยหน่วยงานและองค์กรภาคประชาชนควรร่วมมือแก้ไขปัญหา 2) การสืบทอดด้านผู้นำ ผู้ฝึกสอน และวิทยากร โดยสนับสนุนการพัฒนาองค์ความรู้ และ 3) การสืบทอดด้านองค์ความรู้หรือหลักสูตรการสอน โดยส่งเสริมการรวบรวมองค์ความรู้ จัดทำหลักสูตรและคู่มือ และเปิดกว้างให้มีการเรียนการสอน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จริยา จีนเพชร. ศิลปะการแสดงตีกลองบูชา (กลองปู่จา) จังหวัดน่าน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:

http://www.m-culture.go.th/nan/ewt_dl_link.php?nid=443 [10 มีนาคม 2566].

จีรวัฒน์ บุญล้ำ. “ศึกษาวงกลองปูจาในจังหวัดลำพูน”. ปริญญานิพนธ์ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 2551.

ณัฐพงศ์ ปันดอนตอง. “กลองปู่จาในประวัติศาสตร์ล้านนาพิธีกรรมความเชื่อในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง”. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 [มกราคม - มิถุนายน 2564]: 15 - 28.

ปรเมศวร์ สรรพศรี และเกริกพงศ์ ใจคำ. “วัฒนธรรมกลองปูจาของชาวไทยองบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อําเภอป่าซาง จังหวัดลําพูน”. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. ปีที่่ 9 ฉบับที่่ 2 [เมษายน – มิถุุนายน 2565]: 204.

พระธนาเทพ สกฺกวํโส (ศักดิ์วงค์). “ศึกษาการอนุรักษ์ก๋องปู่จาของชาวพุทธในเขตอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง”. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2560.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดน่านและองค์การพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). กลองปูจาเมืองน่าน. น่าน: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอิงค์เบอรี, 2556.

อาทิตย์ วงศ์สว่าง. “การอนุรักษ์ฟื้นฟูการตีกลองปูจาของกลุ่มลายคำในจังหวัดเชียงใหม่”.วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการศิลปะและวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย - เชียงใหม่, 2557.

สัมภาษณ์ อินแปลง ขัตติยศ, 5 มีนาคม 2566.

สัมภาษณ์ พระครูผาสุก นันทวัฒน์, เจ้าอาวาสวัดสวนหอม, 2 มีนาคม 2566.

สัมภาษณ์ พ่อหนานปั่น นันสว่าง, ปราชญ์เมืองน่าน, 3 มีนาคม 2566.

สัมภาษณ์ ญาณ สองเมืองแก่น, ปราชญ์เมืองน่าน, 25 เมษายน 2566.

สัมภาษณ์ ระย้า จ๋อยพรม, 28 กุมภาพันธ์ 2566.

สัมภาษณ์ สง่า อินยา, รองประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน, 12 มีนาคม 2566.

สัมภาษณ์ สุเมธ สายสูง, ประธานสถาวัฒนธรรมจังหวัดน่าน, 27 เมษายน 2566.