รูปแบบการเจริญวิปัสสนาภาวนาแบบเมตตาเจโตวิมุตติเพื่อเข้านิโรธสมาบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาแบบเมตตาเจโตวิมุตติ 2) เพื่อศึกษาการเจริญวิปัสสนาภาวนาแบบเมตตาเจโตวิมุตติเพื่อเข้านิโรธสมาบัติ และ 3) เพื่อศึกษารูปแบบการเจริญวิปัสสนาภาวนาแบบเมตตาเจโตวิมุตติเพื่อเข้านิโรธสมาบัติ โดยมีระเบียบวิธีการวิจัย คือ การวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก พระวิปัสสนาจารย์ 7 รูป นักวิชาการศาสนา 4 ท่าน และผู้ปฏิบัติธรรม 5 รูป/คน
ผลการวิจัย พบว่า เริ่มจากเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิ พร้อมด้วยอนุสสติ 6 จึงปฏิบัติตามรูปแบบ ดังนี้ 1) เมตตาภาวนา คือ การแผ่ไปเป็นอัปปมัญญา(2) เมตตาเจโตวิมุตติ คือ แผ่เมตตาฌานเพื่อพัฒนาสู่สมาบัติ 8 และ 3) เมตตาอินทรีย์ คือ การพอกพูนอินทรีย์ 5 โพธิปักขิยธรรม ตัดละสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 พร้อมทั้งสมถพละและวิปัสสนาพละ จึงเข้านิโรธสมาบัติได้ การเข้ามี 2 ช่วง ได้แก่ (1) การเจริญเมตตาเจโตวิมุตติจนสำเร็จผล คือ ละกามราคะปฏิฆะและได้สมาบัติ 8 จึงบ่มอินทรีย์ 5 จนเต็มฐาน ดับสังขาร 3 ตามธรรมชาติได้หลายครั้ง และ (2) ฝึกการเข้าอยู่ ทบทวนสมาบัติ 8 เป็นวสีภาวะ คู่กับพัฒนาปัญญาเพื่อละสังโยชน์เบื้องสูง 5 ให้เบาบาง จิตว่างจากกิเลสเพิ่มขึ้น จึงเข้าสู่การอธิษฐานและเพิ่มเวลาการเข้าอยู่ ถัดไปเป็นการละสังโยชน์เบื้องสูง 5 ด้วยอนิมิตตาเจโตวิมุตติ คือ การแผ่เมตตาด้วยเจตนาที่เป็นอุเบกขา เพื่อละนิมิตว่าเที่ยง สุข เป็นอัตตา เพื่อถอนตัณหา อัสสมิมานะ และอวิชชา บรรลุพระอรหันต์แบบอุภโตภาควิมุตติ ผู้สัมผัสวิโมกข์ 8
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
พระภาวนาพิศาลเมธี วิ.. ลำดับการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 แนวธัมมานุสารี. (กรุงเทพมหานคร: หจก.ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2565.
พระโสภณมหาเถระ (มหาสีสยาดอ). วิปัสสนานัย เล่ม 2. พระพรหมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม) ตรวจชำระ. แปลและเรียบเรียงโดย พระคันธสาราภิวงศ์. กรุงเทพมหานคร: หจก. ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2555.
พระอธิการประกาสิทธิ์ สุจิณฺโณ (กลิ่นชื่น). “วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสติและสัมปชัญญะ เพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระไตรปิฎก”. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2566).
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ. 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, 2506.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี. คู่มือการศึกษา พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 4 วิถีสังคหวิภาค. พิมพ์ครั้งที่ 7. นครปฐม: มูลนิธิแนบมหานีรานนท์, 2559.