แนวทางการส่งเสริมอาวาสสัปปายะที่เหมาะสมกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 24 วัดศรีรัตนาราม บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

พระสมใจ โชติธมฺโม (แช่มรัมย์)
รศ.ดร.อำพล บุดดาสาร

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์เรื่อง “แนวทางการส่งเสริมอาวาสสัปปายะที่เหมาะสมกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 24 วัดศรีรัตนาราม บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์” มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาอาวาสสัปปายะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท และ3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมอาวาสสัปปายะที่เหมาะสมกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 24 วัดศรีรัตนาราม บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยมีการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ/พระวิปัสสนาจารย์ 6 รูป/คน ผู้ปฏิบัติธรรม 15 รูป/คน ซึ่งผู้วิจัยได้ รวบรวม และสัมภาษณ์บุคคลนำมาวิเคราะห์ สรุปเรียบเรียง และบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการส่งเสริมอาวาสสัปปายะที่เหมาะสมกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 24 วัดศรีรัตนาราม บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ คือ การใช้หลัก 12 ส. ได้แก่ (1) สะอาด (2) สะดวก (3) สงบ (4) สว่าง (5) สะสาง (6) สร้างนิสัย (7) สันโดษ (8) สงัด (9) สุขลักษณะ (10) สร้างความปลอดภัย (11) สถานที่เหมาะสม และ (12) สาธารณะที่เป็นประโยชน์ ซึ่งมีความเหมาะสมกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาตามแนวสติปัฏฐาน 4 ทำให้เกิดเป็นสมาธิได้อย่างรวดเร็ว และเกิดเป็นปัญญาญาณได้ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
(แช่มรัมย์) พ. . โ., & บุดดาสาร อ. (2025). แนวทางการส่งเสริมอาวาสสัปปายะที่เหมาะสมกับการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของสำนักปฏิบัติธรรมแห่งที่ 24 วัดศรีรัตนาราม บ้านตะตึงไถง ตำบลนอกเมือง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ , 11(1), 140–156. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/270806
บท
บทความวิจัย

References

ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุนทร). ลักขณาทิจตุกะแห่งปรมัตถธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บริษัท รุ่งเรืองวิริยะพัฒนาโรงพิมพ์ จำกัด, 2559.

ชมพู โกติรัมย, อารมณ์ จินดาพันธ์, สุชาติ เสวตบดี และเปรมชัย สโรบล. “การจัดการสภาพแวดล้อมทางการศึกษาตามหลักสัปปายะ”. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2566)

พระคันธสาราภิวงศ์. โพธิปักขิยธรรม. กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ์, 2549.

พระธรรมวโรดม (บุญมา คุณสมฺปนฺโน, ป.ธ. 9). อภิธัมมัตถวิภาวินีแปล. กาญจนบุรี: ม.ป.พ., 2550.

พระพุทธโฆสาจารย์. คัมภีร์วิสุทธิมรรค. แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประยูรวงค์ปริ้นติ้ง จำกัด, 2546.

พระพุทธทัตตเถระ. อภิธัมมาวตาร. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ประยูรสาส์นไทย การพิมพ์, 2555.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

________. อรรถกถาภาษาไทย.ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2553.

________. ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ, 2539.

ศิรดา ยะโอษฐ์. “การพัฒนาวัดให้เป็นสัปปายะ”. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ ฯ. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2562).

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, 2560.

________. พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพครั้งที่ 47. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์เพ็ทแอนด์โฮม จำกัด, 2559.