รูปแบบการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่เชิงพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพ หลักการ และวิธีการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่ 2) เพื่อพัฒนาแนวทางและกระบวนการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่เชิงพุทธบูรณาการ การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาโวหาร ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพ หลักการ และวิธีการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่ที่ควรได้รับการพัฒนา 4 ด้าน คือ (1) นักเผยแผ่ ควรเป็นต้นแบบการประพฤติปฏิบัติตนตามพระธรรมวินัย (2) เนื้อหาธรรมะ ควรใช้ภาษาที่เข้าใจได้ง่าย (3) ช่องทางการสื่อสาร ควรมีเป้าหมายและการวางแผนที่สอดคล้องกับลักษณะและพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ และ (4) คนรุ่นใหม่ เสื่อมศรัทธาต่อนักเผยแผ่ 2) การพัฒนาแนวทางและกระบวนการการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่ เป็นการสื่อสารแบบสองทางที่เน้นให้คนรุ่นใหม่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยการเผยแผ่ธรรมะแบบเชิงรับ เชิงรุก และเชิงผสมผสานที่ยึดมั่นในหลักธรรม ปรับเนื้อหาธรรมะให้ง่าย ประยุกต์ เหมาะสม และพิสูจน์ได้ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ ด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย และ 3) รูปแบบการเผยแผ่ธรรมะสำหรับคนรุ่นใหม่เชิงพุทธบูรณาการ (1) นักเผยแผ่ ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามหลักพระพุทธศาสนา (2) เนื้อหาธรรมะ ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สอดรับกับวิถีคนรุ่นใหม่ (3) ช่องทางการเผยแผ่ เน้นการเรียนรู้เชิงปฏิบัติและการเรียนรู้แบบผสมผสาน เหมาะสมกับคนรุ่นใหม่
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กรมการศาสนา. การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา, ๒๕๔๑.
พระมหาไท อิสฺสรธมฺโม (ธรรมกิจ). “กระบวนการสร้างศรัทธาของชาวพุทธรุ่นใหม่ด้วยการท่องเที่ยวแบบสันตินวัตวิถี”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสันติศึกษา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณวิทยาลัย, มิถุนายน ๒๕๖๕).
พระมหาศรีพยัคฆ์ กงพาน. “รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของนักเผยแผ่ที่สอดคล้องกับสังคมไทย”. ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม, คณะศึกษาศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา มิถุนายน, ๒๕๖๒.
พระครูบวรกิจคุณธาร (อนันต์ วรปญฺโญ). พระอุดมสิทธินายก (กำพล คุณงฺกโร) และ ประเสริฐ ธิลาว. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. “รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม ในเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร”. ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๑ (มกราคม - มีนาคม ๒๕๖๔): ๑๑๖-๑๒๔.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙.