แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม ยุค New Normal : กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองอึ่ง ต.เชียงใหม่ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด

Main Article Content

สมคิด เศษวงษ์
สุทธรี กระจ่างคันถมาตร์
กุสุมา เมฆะวิภาต
ไพฑูรย์ อุทัยคาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ (1)  เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมในสังคมไทย (2) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชน  (3) เพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนในยุค New Normal การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพภาคสนามโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย และนำเสนอในรูปแบบพรรณนาโวหาร


ผลการวิจัยพบว่า การอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชนนั้นมุ่งส่งเสริมให้มีการบำรุงรักษาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นทุกด้าน ควบคู่กับการพัฒนาและเผยแพร่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น ภาครัฐสนับสนุนและส่งเสริมให้องค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมด้วยการสร้างความตระหนัก เห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมเพื่อให้เป็นวัฒนธรรมอันดีงามต่อสังคมต่อไป ส่วนบริบทการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของชุมชน  พบว่า บริบทของชุมชนบ้านหนองอึ่ง ตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ชัย จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพื้นที่ในเขตปกครองของเทศบาลตำบลเชียงใหม่ ซึ่งมีการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นและมีภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นสิ่งเกื้อประโยชน์ต่อส่วนรวมมากกว่าส่วนบุคคลสร้างความตระหนักในคุณค่าแห่งความรู้ความสามารถ ที่ผ่านการสั่งสมมาอย่างหลากหลายสอดคล้องเหมาะสมกับวิถีชีวิตและมีศิลปะที่สวยงามของภูมิปัญญาบรรพบุรุษ ทั้งยังนำมาใช้เป็นแง่คิดในการพัฒนาวิถีชีวิตของคนในชุมชนบนพื้นฐานคุณค่าดั่งเดิมที่เน้นความเรียบง่ายการพึ่งพาตนเอง แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนาธรรมของชุมชนในยุค New Normal  พบว่า แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะวัฒนธรรมในยุคสมัยใหม่นี้ด้วยกันคือ 1) การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมโดยการปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในชุมชนการปลูกฝังจิตสำนึกให้กับคนในชุมชนนั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่งเพื่อเป็นการทำให้คนในชุมชนเกิดความรักและศรัทธาในสิ่งที่ตนเองถือปฏิบัติมาเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชนทุกกลุ่มเห็นคุณค่า และร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมของบ้านเกิดของตัวเองและท้องถิ่น 2) ตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่นการอนุรักษ์เป็นการปลุกจิตสำนึกให้คนในท้องถิ่นตระหนักถึงคุณค่าแก่นสาระและความสำคัญของภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนที่จะต้องส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ สร้างจิตสำนึกของความเป็นคนท้องถิ่นนั้นๆ ที่จะต้องร่วมกันอนุรักษ์รักษาที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น 3) ส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรม โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการสืบสานและพัฒนาศิลปวัฒนธรรมของภูมิปัญญาของชุมชนต่างๆ เพื่อจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องการเสริมสร้างปราชญ์ท้องถิ่น 4) การฟื้นฟู ศิลปะและวัฒนธรรมที่กำลังสูญหาย การฟื้นฟูโดยการเลือกสรรภูมิปัญญาที่กำลังสูญหาย หรือที่สูญหายไปแล้วมาทำให้มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นฐานทางจริยธรรม คุณธรรม และค่านิยมและมีกระบวนการจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบ สร้างภาคีเครือข่ายการอนุรักษ์ และสืบทอดประเพณีของชุมชนจากองค์กรภาครัฐและเอกชนทุกภาคส่วน    

Article Details

How to Cite
เศษวงษ์ ส., กระจ่างคันถมาตร์ ส., เมฆะวิภาต ก., & อุทัยคาม ไ. (2025). แนวทางการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรม ยุค New Normal : กรณีศึกษาชุมชนบ้านหนองอึ่ง ต.เชียงใหม่ อ.โพธิ์ชัย จ.ร้อยเอ็ด. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ , 11(1), 175–191. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/Palisueksabuddhaghosa/article/view/274274
บท
บทความวิจัย

References

กรมศิลปากร. ทฤษฎีและแนวปฏิบัติการอนุรักษ์โบราณสถานและแหล่งโบราณคดี, ๒๕๖๑.

________. ร่างมาตรฐานและแนวปฏิบัติของกรมศิลปากรในการดำเนินการโบราณสถานโบราณคดีและการพิพิธภัณฑ์.กรุงเทพมหานคร: บริษัท พรีสเกล จำกัด, ๒๕๓๕.

________. คู่มือปฏิบัติงานอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร, ๒๕๔๒.

________. คู่มือถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาพันธ์, ๒๕๔๔.

เกษม จันทร์แก้ว. เอกสารชุดวิชานิเวศวิทยาและการจดการป่าไม้ การจัดการสิ่งแวดล้อม หน่วยที่ ๘. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๑.

ดารณี ถวิลพิพัฒน์กุล. กระบวนการเป็นเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในประเทศกำลังพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๙.

นิวัติ เรืองพานิช. การอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: เฉลิมชาญการพิมพ์. บริษัทสกายบุกส์ จำกัด, ๒๕๓๓.

ปิ่นรัชฏ์ กาญจนัษฐิติ. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ. “การอนุรักษ์สถาปัตยกรรมและชุมชน.” คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๐.

ปรีชา ศรีวาลัย. ประวัติศาสตร์สากล : สมัยโบราณ สมัยกลาง สมัยใหม่ และโลกปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๖.

ราชบัณฑิตยสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, ๒๕๔๖.