รูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะเชิงพุทธบูรณาการ

Main Article Content

พระณรงค์ พนฺธุธมฺโม เทียนเจริญ
วิโรจน์ คุ้มครอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎีการพัฒนาจิตสาธารณะ 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาจิตสาธารณะ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะเชิงพุทธบูรณาการเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพแบบวิจัยภาคสนามและสัมภาษณ์บุคคลจำนวน 16 รูป/คนนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลเขียนบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า  รูปแบบการพัฒนาจิตสาธารณะเชิงพุทธบูรณาการประกอบด้วย 1) หลักพรหมวิหาร 4 กล่าวคือ บุคคลผู้มีจิตสาธารณะควรมีหลักเมตตา มีความรักใคร่ ปรารถนาดี อยากให้บุคคลอื่นมีความสุข หลักกรุณา ความสงสารช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ เมื่อเพื่อนมนุษย์ได้รับความลำบาก เดือดร้อน จะต้องไม่นิ่งเฉยหาทางช่วยตามกำลังที่ตนจะทำได้ หลักมุทิตา พลอยยินดีเมื่อเห็นเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้รับความสุข ไม่มีความริษยา หลักอุเบกขา วางเฉย วางใจเป็นกลางปราศจากอคติแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน 2) หลักสังคหวัตถุ 4 กล่าวคือ หลักทาน คือ การให้ ด้วยจิตเสียสละ เอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปัน วัตถุ สิ่งของ ของตนเพื่อประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ที่ประสพความทุกข์ต่างๆ หลักปิยวาจา การพูดด้วยถ้อยคำ ที่ไพเราะ จะเกิดความประทับใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะการพูดเป็นบันไดขั้นแรกที่สร้างให้มนุษย์มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน หลักอัตถจริยา คือ การประพฤติตนเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น สงเคราะห์ เสียสละประโยชน์ของตนด้วยการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ที่เดือดร้อน หลักสมานัตตตา คือ การปฏิบัติตัวเสมอต้นเสมอปลาย มีความเสมอภาค ให้ความเท่าเทียมกันเป็นกันเอง และ 3) หลักมงคลสูตรข้อที่ 17 การสงเคราะห์ญาติ คือ สงเคราะห์ อนุเคราะห์เพื่อนมนุษย์ด้วยกันเป็นดุจการสงเคราะห์ญาติของตน ด้วยการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ด้วยช่วยเหลือด้วยทุนทรัพย์และวัตถุสิ่งของ ตลอดจนให้ความรู้ต่างๆ ด้วยมีความรัก ความเมตตาเป็นที่ตั้ง ส่วนองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเป็นแบบ “BSN Model”

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฏกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราช

วิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 2539.

กุลทิพย์ ศาสตระรุจ. การถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารของกลุ่มเยาวชนในจิตสำนึกสาธารณะ.

รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย. 2551.

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ. ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต.

กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศิวพร. 2513.

พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ). นิเทศธรรม. กรงเทพมหานคร: บริษัทแปดสิบเจ็ด (2545) จำกัด.

พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ณาณสิทฺธิ ป.ธ. 9). มงคล 38. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการ

วิปัสสนาธุระ. 2536.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 30.

กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์. 2558.

พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต). เครื่องวัดความเจริญของชาวพุทธ (อารยวัฑฒิ).

กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จำกัด. 2552.

พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต). จะพัฒนาคนกันอยางไร. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน. 2557.

พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต). วินัยเรื่องใหญ่กว่าที่คิด. นครปฐม: วัดญาณเวศกวัน. 2538.

ระวี ภาวิไล. ชีวิตดีงาม. พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผีเสื้อ. 2537.

วิลเลียม เคลาสเนอร์. พุทธศาสนาตามแบบชาวบ้านในภาคอีสาน. พระนคร: โรงพิมพ์ศิวพร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. แนวทางพัฒนาการวัดและประเมินคุณลักษณะอันพึง

ประสงค์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.

พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

จำกัด. 2553.

เหวง โตจิราการ. การเสริมสร้างจิตสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: ประสานมิตร. 2553.

อนุพนธ์ คำปัน และคณะ. “การศึกษาองค์ประกอบของจิตสาธารณะของนิสิตนักศึกษา

ในสถาบันอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร”. วารสารสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 18 ฉบับที่ 18. (มกราคม-ธันวาคม 2558).