คัมภีร์ธาตวัตถทีปกะ : การปริวรรต แปล และการวิเคราะห์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคัมภีร์ในด้านประวัติความเป็นมา ผู้แต่ง โครงสร้าง และเนื้อหาของคัมภีร์ธาตวัตถทีปกะ 2) เพื่อปริวรรตคัมภีร์ธาตวัตถทีปกะ จากต้นฉบับบาลีอักษรพม่าเป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์คัมภีร์ธาตวัตถทีปกะ ด้านไวยากรณ์ ฉันทลักษณ์ อลังการและคุณค่าต่อการศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสาร เรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า ผู้แต่งคัมภีร์นี้ คือพระอัคคธัมมะเถระชาวพม่า คัมภีร์ธาตวัตถทีปกะมีธาตุทั้งหมด 1,189 ศัพท์ โครงสร้างของคัมภีร์นี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ (1) ส่วนต้นของคัมภีร์ คือ คันถารัมภกถา อยู่ในคาถาที่ 1 (2) เนื้อหาของคัมภีร์ แบ่งออกเป็น 5 ปริจเฉท อยู่ในคาถาที่ 2-330 (3) คำลงท้ายของคัมภีร์ คือ นิคมนกถา อยู่ในคาถาที่ 331-32 ต้นฉบับของคัมภีร์ธาตวัตถทีปกะจัดพิมพ์เป็นบาลีอักษรพม่า ผู้แปลได้ปริวรรตเป็นภาษาบาลีอักษรไทย แปลเป็นภาษาไทยและตรวจชำระ โดยเทียบเคียงกับสัททนีติปกรณ์ ธาตุมาลา ซึ่งแต่งโดยพระอัคควังสะ, สัททนีติธาตุมาลา ฉบับแปล ตรวจชำระโดยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ อุปสมมหาเถระ ธาตวัตถสังคหปาฐนิสสยะ ซึ่งแต่งโดยพระวิสุทธาจารมหาเถระ และพระไตรปิฎกภาษาบาลี คัมภีร์ธาตวัตถทีปกะ สรุปความไวยากรณ์ที่สำคัญจากสัททนีติปกรณ์ โมคคัลลานไวยากรณ์ ปทรูปสิทธิปกรณ์ และพาลาวตาร คัมภีร์นี้แต่งเป็นอนุฏฐุภาฉันท์ 8 พยางค์ มีคาถาทั้งหมด 22 ประเภท คือ ปัฐยาวัต 1 กลุ่มนการวิปุลา 5 กลุ่มชการวิปุลา 3 กลุ่มมการวิปุลา 3 กลุ่มรการวิปุลา 3 กลุ่มสการวิปุุลา 2 กลุ่มภการวิปุลา 3 กลุ่มตการวิปุลา 2 และประกอบด้วยลักษณะของสัททาลังการ 6 ประเภท คือ ปสาทคุณ มธุรตาคุณ สุขุมาลตาคุณ อัตถพยัตติคุณ โอชคุณ และสิเลสคุณ อีกทั้งคัมภีร์นี้ส่งผลด้านคุณค่าต่อการศึกษาคำสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้รู้คณะธาตุและอรรถของธาตุได้อย่างถูกต้อง ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจพระพุทธพจน์ได้อย่างถูกต้องอันจะช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติธรรมไม่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระกัจจายนะ. (2530). กัจจายนพยากรณะ. ลำปาง : วัดท่ามะโอ.
พระโกวิทะ. (2481). ฉันโทภารตี. มัณฑะเลย์ : โรงพิมพ์มันดลาภุมมิปิฏกัต.
พระคันธสาราภิวงศ์. (2548). ปทรูปสิทธิมัญชรี เล่ม 1-3. ลำปาง : วัดท่ามะโอ.
________. (2548). พาลาวตารมัญชรี เล่ม 1-3. ลำปาง : วัดท่ามะโอ.
________. (2545). วุตโตทยมัญชรี. ลำปาง : วัดท่ามะโอ.
________. (2546). สุโพธาลังการมัญชรี. ลำปาง : วัดท่ามะโอ.
พระธรรมกิตติ. (2541). พาลาวตาร. ลำปาง : วัดท่ามะโอ.
พระพุทธัปปิยะ. (2541). ปทรูปสิทธิ. กรุงเทพมหานคร : วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ คณะ 25.
________. (2509). ปทรูปสิทธิฎีกา. ย่างกุ้ง : กระทรวงมหาดไทยและการศาสนา.
พระมหานิมิต ธมฺมสาโร และจำรูญ ธรรมดา ตรวจชำระโดยสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม). (2546). สัททนีติปทมาลา สัททนีติธาตุมาลา สัททนีติสุตตมาลา แปล. นครปฐม : วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส.
พระมุนินทาภิวงศ์. (2532). ฉันโทสารัตถทีปกะ. ย่างกุ้ง : โรงพิมพ์เนลินซา.
พระโมคคัลลานะ. (2525). โมคคัลลานพยากรณะ. ย่างกุ้ง : กระทรวงมหาดไทยและการศาสนา.
พระวชิรปัญญะ. (2507). ฉันโทสารัตถเมทินี. มัณฑะเลย์ : โรงพิมพ์ปยีจีมัณไฑปิฏกัต.
พระวิสุทธาจาระ. (2553). ฉันโทมัญชรี. ลำปาง : วัดท่ามะโอ.
________. (2559). ธาตวัตถสังคหปาฐนิสสยะ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ฐานการพิมพ์ จำกัด.
พระอัคควังสะ. (2521-2523). สัททนีติปกรณ์. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิภูมิพโลภิกขุ.
พระอินทาจาระ. (2442). ธาตวัตถทีปกนิสสัย. ย่างกุ้ง : โรงพิมพ์กวิเมียดมัน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร : นานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.
สยาญาณ. (2491). ปาฬิธาตุมาลา. ย่างกุ้ง : โรงพิมพ์หังสาวตี.
หลวงเทพดรุณานุศิษฏ์ (ทวี ธรรมธัช). (2486). ธาตุปฺปทีปิกา หรือพจนานุกรม บาลี-ไทย แผนกธาตุ. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย.