รูปแบบการจัดตั้งศูนย์กฎหมายเพื่อคณะสงฆ์เชิงพุทธบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาการปกป้องคุ้มครองคณะสงฆ์ที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการจัดตั้งศูนย์กฎหมายเพื่อคณะสงฆ์ และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดตั้งศูนย์กฎหมายเพื่อพระสงฆ์เชิงพุทธบูรณาการ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 23 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า ศูนย์กฎหมายและศูนย์ปรึกษากฎหมายระดับจังหวัด ควรมีหน้าที่ 4 ประการ ดังนี้ 1) การให้ความรู้ทางด้านกฎหมายกับพระสงฆ์ 2) เป็นศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทระหว่างวัด กับคู่กรณี ชาวบ้าน ชุมชน และพระสงฆ์ 3) เป็นที่ปรึกษาทางด้านกฎหมายเมื่อเกิดกรณีข้อข้อขัดแย้ง 4) สถาบันทางกฎหมายต้องเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาเรียนรู้ของคณะสงฆ์ โดยการสร้างเครือข่ายเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับพระสงฆ์ ทั้ง 4 ประการสำคัญนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดตั้งศูนย์กฎหมายเพื่อปกป้องคุ้มครองคณะสงฆ์เชิงพุทธบูรณาการ รูปแบบการจัดตั้งศูนย์กฎหมายเพื่อคณะสงฆ์เชิงพุทธบูรณาการ คือ “PDSC MODEL” ประกอบด้วย 1) ให้ความรู้ทางกฎหมาย (P) 2) ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (D) 3) ปรึกษากฎหมายกรณีมีข้อขัดแย้ง (S) 4) สร้างเครือข่ายเพื่อความแข็งแกร่งของพระสงฆ์ (C)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
คณะกรรมการมหามกุฎราชวิทยาลัย. (2535). วินัยวินิจฉัย. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย,
ปลื้ม โชติษฐยางกูร. (2553). คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
ประชาไท. (2565). โลกวัชชระ: ใครคือผู้กำหนดพฤติกรรมที่เหมาะสมของพระ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.prachatai.com/journal/2017/11/73914 [6 กันยายน 2565].
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. 9 ราชบัณฑิต. (2548). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด. กรุงเทพมหานคร: วัดราชโอรสาราม,
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 12.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มติชนออนไลน์. (2565). รายงานพิเศษ: องค์กรปกครองคณะสงฆ์ไทยในสภาวะ “อ่อนแรง-เชื่องช้า-ไม่ทันโลก”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.matichon.co.th/education/news_ 3115588 [6 กันยายน 2565].