รูปแบบการจัดการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย

Main Article Content

พระครูสังฆภารวิมล สุเทพ รติโก
ประเวศ อินทองปาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการจัดการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการจัดการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 23 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา


ผลการวิจัย พบว่า งานด้านสาธารณสงเคราะห์ ในกิจการพระพุทธศาสนา ดำเนินการขับเคลื่อนให้เกิดประโยชน์ในภาวะวิกฤต คณะสงฆ์เป็นองค์กรที่สำคัญในการเข้าไปช่วยเหลือเกื้อกูล ด้วยวัตถุสิ่งของจำเป็นเบื้องต้น โดยนำหลักธรรม 5 หลัก ทางพระพุทธศาสนาคือ 1) อคติ 4 ได้แก่ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ 2) พรหมวิหาร 4 ได้แก่เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา 3) สังคหวัตถุ 4 ได้แก่ ทาน  ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตา 4) สาราณียธรรม 7 ได้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม สาธารณโภคี 5) สัปปุริสธรรม 7 ได้แก่ รู้หลักการ รู้จุดหมาย รู้จักตน รู้จักประมาณ รู้จักเวลา รู้จักชุมชน รู้จักบุคคล ดำเนินการช่วยเหลือสังคมทางวัตถุที่ไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย  รูปแบบการจัดการสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ไทย คือ โมเดล “KGSA” คือ 1) K= ช่วยเหลือสังคมด้วยความเมตตาและเป็นกลาง G = ช่วยเหลือสังคมด้วยความเอื้อเฟื้อ S = ช่วยเหลือสังคมด้วยความจริงใจและสม่ำเสมอ A = ช่วยเหลือสังคมตามความเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. Z2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย.

พระมหาวิเชียร ชาญณรงค์. (2547). “บทบาทพระสงฆ์ในการนาหลักธรรมมาใช้ทากิจกรรมงานพัฒนาชุมชน เพื่อ ลด ละ เลิก อบายมุข: ศึกษาเฉพาะกรณีพระครูศีลาวราภรณ์”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาบุญมี อธิปุญฺโญ. (2544).“บทบาทของพระสังฆาธิการพัฒนาสังคม: ศึกษากรณีพระธรรมวิสุทธิมงคล (บัว ญาณสมฺปนฺโน)”. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาสุภา อุทฺโท. (2541). “บทบาทของพระสงฆ์ต่อสังคมไทยใน 2 ทศวรรษหน้า”. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พระมหาอนันต์ ดอนนอก. (2540).“บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนตามโครงการอบรมประชาชนประจาตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา”. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทธิพงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์. (2541). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ กฎกระทรวง กฎมหาเถรสมาคม พร้อมด้วยระเบียบและคำสั่งมหาเถรสมาคมที่เกี่ยวกับการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ กรมการศาสนา.

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ข้อมูลวัดและพระสงฆ์ 2553. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.onab.go.th/ [31 สิงหาคม 2565].

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนประชากร 2553. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.nso. go.th/ [31 สิงหาคม 2565].