แนวทางการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อบริการสังคมของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์สมัยใหม่ 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ส่งเสริมการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อบริการสังคมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อบริการสังคมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐมการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และการสัมภาษณ์เชิงลึกในภาคสนาม วิเคราะห์และสังเคราะห์ผ่านความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม จำนวน 16 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า 1) ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลข่าวสารแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว การประชาสัมพันธ์มีบทบาทสำคัญในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรและสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทฤษฎีการสื่อสาร SMCR Model ซึ่งเป็นแบบจำลองพื้นฐานที่อธิบายกระบวนการประชาสัมพันธ์ ยังคงมีความเกี่ยวข้องและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการวางแผนและดำเนินการประชาสัมพันธ์ในยุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การประชาสัมพันธ์มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนสังคม ในฐานะสถาบันการศึกษาด้านพระพุทธศาสนา สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมบริการสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลักธรรมกถึก 5 ซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้แสดงธรรม ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานการประสัมพันธ์ได้เป็นอย่างดี และ3) แนวทางการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เชิงพุทธบูรณาการเพื่อบริการสังคมของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม ตามทฤษฎีการสื่อสาร SMCR Model ร่วมกับ หลักพระธรรมกถึก 5 ประการ ในการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์เพื่อบริการสังคม ผู้ส่งสาร ประยุกต์กับหลักพระธรรมกถึกข้อที่ 3 สาร ประยุกต์กับหลักพระธรรมกถึกข้อที่ 1 และ 2 ช่องทาง ประยุกต์กับหลักพระธรรมกถึกข้อที่ 5 ผู้รับสาร ประยุกต์กับหลักพระธรรมกถึกข้อที่ 4 สรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยเป็น SMCR-B Model.
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม, “ประวัติวิทยาเขต”, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://pali.mcu.ac.th/?page_id=553. [3 ตุลาคม 2566].
อนุช อาภาภิรม. “เทคโนโลยีกับสวรรค์”, ห้องสมุดสถาบันพระปกเกล้า, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://kpi-lib.com/library/books/kpibook-9215, [1 ตุลาคม 2566].