รูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ใช้กลุ่มตัวอย่าง พระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานครจำนวน 297 รูป สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และกลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 รูป/คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และ การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเขียนวิเคราะห์แบบสรุปความแบบเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความต้องการจำเป็นของการศึกษาสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร พบว่า สภาพปัจจุบันโดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง สภาพพึงประสงค์โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นจากเรียงลำดับค่า PNI modified 2) ผลการพัฒนารูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร พบว่า องค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยได้สร้างรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร ตามองค์ประกอบของรูปแบบเชิงข้อความ คือ หลักการ แนวคิด วัตถุประสงค์ เนื้อหา การบูรณาการด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 และผลลัพธ์ที่คาดหวัง 3) ผลการประเมินรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร โดย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความเป็นประโยชน์ ตามลำดับ สามารถนำไปเป็นรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์ตามหลักพุทธธรรมของพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร ให้มีประสิทธิภาพในการศึกษาสงเคราะห์แก่พระสังฆาธิการได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กรมการศาสนา, คู่มือการจัดการศึกษาสงฆ์, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา, 2539),
ฉันทนา กล่อมจิต, “รูปแบบการจัดการศึกษา และเผยแผ่ศาสนธรรมของวัดในพระพุทธศาสนา กรณีศึกษาวัดป่าบ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี”, รายงานการวิจัยค้นคว้าอิสระ, (กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการการศึกษา, 2546).
ประสาท สุขเกษม, “บทบาทของพระภิกษุสงฆ์ในการขัดเกลาทางสังคมแก่เยาวชน ศึกษากรณีค่ายคุณธรรมวัดอุโมงค์ จังหวัดเชียงใหม่”, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2542), บทคัดย่อ.
พระครูธรรมศาสน์อุโฆษ (ธงไชยวัฒน์ อิสฺสรมฺโม), “บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2555), บทคัดย่อ
พระครูปลัดอาทิตย์ อตฺถเวที (ซองดี), “การศึกษาแนวคิดและวิธีการปกครองคณะสงฆ์ของพระเทพโสภณ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนา, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546
พระธนดล นาคสุวณฺโณ, “การบริหารกิจการคณะสงฆ์จังหวัดบุรีรัมย์”, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประสาสนศาสตร์, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2550), บทคัดย่อ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, “พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545”, (กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี),