รูปแบบการพัฒนาอริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา: กรณีศึกษาศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการพัฒนาอริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท 2) เพื่อศึกษาการพัฒนาอริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการพัฒนาอริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบวิจัยเอกสาร โดยมีการสัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 รูป/คน พระวิปัสสนาจารย์/วิปัสสนาจารย์ 6 รูป/คน ผู้ปฏิบัติธรรม 9 รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการพัฒนาอริยมรรคมีองค์ 8 ในการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนาของศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา คือ ความรู้ที่ถูกต้อง รู้ในอริยสัจจ์ 4 รู้ในทุกข์ สาเหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงดับทุกข์ คือ สัมมาทิฏฐิ (Right Understanding) การไตร่ตรองพิจารณากำหนดรู้อย่างถูกต้องและถูกวิธี คือ สัมมาสังกัปปะ (Right Thought) การสำรวมในคำพูด คือ สัมมาวาจา (Right Speech) การสำรวมในร่างกายและจิตใจ คือ สัมมากัมมันตะ (Right Action) การสำรวมในการอุปโภคบริโภคด้วยปัจจัย 4 คือ สัมมาอาชีวะ (Right Livelihood) การมีความเพียรกำหนดจดจ่ออย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ คือ สัมมาวายามะ (Right Effort) การมีสติพิจารณาในกาย เวทนา จิต และธรรม คือ สัมมาสติ (Right Mindfulness) และ การกำหนดจดจ่ออย่างตั้งมั่น คือ สัมมาสมาธิ (Right Concentration) แล้วจึงยกขึ้นสู่การเจริญวิปัสสนาภาวนาด้วยสติปัฏฐาน 4 (Mindfulness) เกิดเป็นปัญญารู้แจ้งรูป-นาม ตามความเป็นจริง (Right Meditation)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
จำเนียร ทรงฤกษ์. ชีวประวัติสามเณร. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพ่อนวล แม่พัว ทรงฤกษ์, 2550.
พระประยงค์ สุวณฺโณ (คล้ายสุบรรณ์). “แนวทางการส่งเสริมสัทธินทรีย์เพื่อการปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา”. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิปัสสนาภาวนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2566.
พระภาวนาพิศาลเมธี วิ. พระครูปลัดสัมพิพัฒนธรรมาจารย์ (นิรันดร์ ศิริรัตน์) และพระครูพิบูลกิจ-จารักษ์. “การเจริญวิปัสสนาภาวนาในระดับขณิกสมาธิ”, วารสารชัยภูมิปริทรรศน์. ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม-สิงหาคม 2566).
พระมหาชินวัฒน์ จกฺกวโร (กุยรัมย์ ป.ธ. 8). พระอภิธรรม เจตสิกปรมัตถ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอบุ๊ค ดิสทริบิวชั่น จำกัด, 2556.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สหธรรมิก จํากัด, 2561.
สยาดอภัททันตวิโรจนะ, ดร. โอวาทธรรม ของสยาดอ เล่ม 1. แปลโดย แม่ชีเกสร เมฆวดี และคณะ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมวิวัด, 2565.