ปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการบรรลุสัจการแห่งตนของบุคลากร ทางการแพทย์ สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่ส่งเสริมการบรรลุสัจการแห่งตนของบุคลากรทางการแพทย์ตามแนวพุทธจิตวิทยา 2) เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการบรรลุสัจการแห่งตนของบุคลากรทางการแพทย์ สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ 3) เพื่อนำเสนอผลการศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการบรรลุสัจการแห่งตนชองบุคลากรทางการแพทย์ สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีด้วยวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการะสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 รูป/คน เพื่อสร้างแบบสอบถามและเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรทางการแพทย์ สังกัดกรมแพทย์ทหารเรือ จำนวน 166 คน และ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และ การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่ส่งเสริมการบรรลุสัจการแห่งตนตามแนวพุทธจิตวิทยาประกอบด้วยหลักอริยสัจ 4 กับหลักจิตวิทยาลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์เป็นแนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของบุคลากรทางการแพทย์ คือ คุณธรรมจริยธรรม ความรักและศรัทธาในอาชีพและจิตเมตตา และ เกิดการบรรลุสัจการแห่งตน ได้แก่ กัลยาณมิตร การพัฒนาตนเอง การพัฒนาจิตวิญญาณ และ การเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการบรรลุสัจการแห่งตน พบว่า หลักอริยสัจ 4 และหลักจิตวิทยาลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) เพื่อนำเสนอผลการศึกษาปัจจัยเชิงพุทธจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการบรรลุสัจการแห่งตน พบว่า ปัจจัยอริยสัจ 4 และปัจจัยจิตวิทยาลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ มีอิทธิพลต่อการบรรลุสัจการแห่งตนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ก่อนเท่านั้น
References
กรมสุขภาพจิต, การดูแลจิตใจบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ฉบับวันที่ 10 เมษายน 2563, (ออนไลน์), แหล่งที่มา Retrieved from https://dmh.go.th (10 เมษายน 2565). https://dmh.go.th/covid19/pnews/files/การดูแลจิตใจบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข/
คำวงศ์, ด., ประสานธนกุล, จ., พนาสถิตย์, ม., & วงศ์วาร, ธ., ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงานกับภาวะสุขภาพจิตของบุคลากรทางการแพทย์ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019, วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 2564, หน้า 54-68.
Maslow, A. H. A theory of human motivation. Psychological Review. In C. L. Stacey, & M. F. DeMartino, Understanding human motivation, Howard Allen Publishers, 1958, pp. 26–47).
Maslow, A. H., MOTIVATION AND PERSONALITY. Harper & Row : Publishers, 1970.
Beitel, M., Wald, L. M., Midgett, A., Green, D., Cecero, J. J., Kishon, R., & Barry, D. T. , Humanistic experience and psychodynamic understanding: empirical associations among facets of self-actualization and psychological mindedness. Person-Centered & Experiential Psychotherapies, 2015, 137–148.
พระดำรงค์ เบญจคีรี, “การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนว
อริยสัจสี่เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้ต้องขังชายในเรือนจำกลาง จังหวัดเชียงใหม่”,วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, (บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2553), บทคัดย่อ.
อมรรัตน์ ปักโคทานัง, ศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุน วิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา, วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2548.
Maslow, A. H. Motivation and personality, New York : Harpers, 1970, p 331.
Ivtzan, I., Chan, C. P., Gardner, H. E., & Prashar, K., Linking Religion and Spirituality with Psychological Well-being: Examining Self-actualisation, Meaning in Life, and Personal Growth Initiative. Journal of Religion & Health, 2013, pp 915-929.
ปยุตฺโต, ป. อ., พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. มูลนิธิการศึกษาเพื่อการศึกษาสันติภาพ พระธรรมปิฎก (ปยุตฺโต, ป. อ.), 2556, หน้า 80.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์, จิตวิทยาการศึกษา, (กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพมหานคร,
, หน้า 48 – 51.
Ordun, G., & Akün, F. A. Self Actualization, Self Efficacy and Emotional Intelligence of Undergraduate Students, Journal of Advanced Management Science, 2017, pp 170-175.ชลธิชา หอมฟุ้ง, การพัฒนารูปแบบการสอนวรรณคดีไทยโดยการประยุกต์ใช้อริยสัจสี่เพื่อส่งเสริม ความสามารถด้านการอ่านอย่างมีวิจารณญาณและการแกปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา ระดับปริญญาบัณฑิต, ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, (บัณฑิต วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร), 2557.
Maslow, A. H. Motivation and personality, New York : Harpers, 1970, p 331.
พระดำรงค์ เบญจคีรี, “การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนว
อริยสัจสี่เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตการอยู่ร่วมกันในสังคมของผู้ต้องขังชายในเรือนจำกลาง จังหวัดเชียงใหม่”,วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน, (บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2553), บทคัดย่อ.
พระปลัดอานนท์ ช้างแรงการ, “การพัฒนาสุขภาวะทางจิตของพยาบาลวชิาชีพด้วยการปรึกษากลุ่ม แนวพุทธ”, ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา, ( บัณฑิตวิทยาลย: มหาวิทยาลัยบูรพา), 2564.
Ivtzan, I., Chan, C. P., Gardner, H. E., & Prashar, K., Linking Religion and Spirituality with Psychological Well-being: Examining Self-actualisation, Meaning in Life, and Personal Growth Initiative. Journal of Religion & Health, 2013, pp 915-929.
ชุติมา พงศ์วรินทร์, “ความสุขของนิสิตนักศึกษาในบริบทพุทธธรรม: การศึกษาข้อมูลเชิงประจักษ์
และการพัฒนามาตรวัด”, ดุษฎีนิพนธ์ ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยา, (คณะ จิตวิทยา: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554), หน้า ง.