การศึกษาสภาพและแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว ในศตวรรษที่ 21
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21และ 2) ศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว ในศตวรรษ ที่ 21 ศึกษาสภาพจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว จำนวน 205 คน ศึกษาแนวทางจากบ้านเรียนที่มีวิธีปฏิบัติที่ดี จำนวน 5 แห่ง และผู้ทรงคุณวุฒิ จํานวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษ ที่ 21 อยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) แนวทางการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัวในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย (1) ด้านเครือข่ายสนับสนุนการจัดการศึกษา ควรสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ประกอบไปด้วย ผู้จัดการศึกษา หน่วยงานที่ดำเนินการ ได้แก่ กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา กลุ่มนโยบายและแผน กลุ่มงานนิเทศ โรงเรียน สถานประกอบการ เครือข่ายบ้านเรียน สถาบันศาสนาและศูนย์การเรียนรู้ (2) ด้านหลักสูตร ควรจัดทำหลักสูตรเฉพาะบุคคลมีความยืดหยุ่นสูง มีจุดเน้นพิเศษและสอดคล้องหลักสูตรแกนกลางการศึกษา (3) ด้านทรัพยากรทางการศึกษา ประกอบด้วย แผนการจัดการศึกษา แอปพลิเคชัน คอร์สออนไลน์และแหล่งเรียนรู้ และ (4) ด้านการดำเนินการ ได้แก่ ขั้นเตรียมการจัดการศึกษา ขั้นวางแผนการจัดการศึกษา ขั้นดำเนินจัดการเรียนรู้ ขั้นวัดผลประเมินผลและขั้นปรับปรุงการเรียนรู้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
ไซอัจนา. (2020) โฮมสคูลในไทยและต่างประเทศ. สืบค้น 23 เมษายน 2564 จาก:
https://www.twinkl.co.th/blog/homeschool-thailand
ดุษฎี รังสีชัชวาล. (2561). การศึกษารูปแบบของการจัดการศึกษาบ้านเรียนและการมีส่วนร่วม ของหน่วยงานภาครัฐที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน. (รายงานผลการวิจัย). สถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
น้ำผึ้ง มีศีล. ( 2560 ). การจัดการศึกษาโดยครอบครัวแบบเสริมทักษาชีวิตและการทำงานในศตวรรษที่ 21. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์).กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปริญญา หอมอเนก (2561). 21st-Century Skill : ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้น 21 มิถุนายน 2561 , จาก http://thirayu1999.blogspot.com/p/blog-page_3.html
พัชรพรพิณ. (2558). การศึกษาไทยในยุคปัจจุบัน. สืบค้น 23 เมษายน 2564 จาก:
https://patcharapornphin.wordpress.com/2015/10/22
พิมพ์มณี แก้วมหาวงศ์. (2558). รูปแบบการจัดการศึกษาโดยครอบครัวสำหรับบุคคลที่มีความต้องการพิเศษ วารสารสุทธิปริทัศน์ , 29(92), 236-253.
ยุทธชัย เฉลิมชัย. (2543). รูปแบบและพัฒนาการการจัดการศึกษาโดยครอบครัวในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) กรุงเทพฯ:กลุ่มงานปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
รุจนี เอ้งฉ้วน. (2558). การจัดกระบวนการเรียนรู้แบบโฮมสคูล: กรณีศึกษาครอบครัวในภาคใต้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) วารสารหาดใหญ่วิชาการ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ , 13(2), 103-116.
ศศิธร จารุสมบัติ. (2557). การจัดการศึกษาโดยครอบครัวตามแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพ . (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์/กรุงเทพฯ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). สภาวะการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). การติดตามประเมินผลเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาโดยครอบครัว. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.หน่วยศึกษานิเทศก์. ( 2551 ).เอกสารสาระหลักการและแนวคิดประกอบการดำเนินงาน กศน. :
คัมภีร์ กศน. / หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.กรุงเทพฯ : หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สํานักพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2562) นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สืบค้น 2 มกราคม 2562 , จาก http://www.mathayom9.go.th/webspm9/data/obec63.pdf