จริยธรรมของนักศึกษา แผนกวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา Ethical Behavior of Students Majoring in Marketing Program at Songkhla Vocational College under The Office of Vocational Education Commission
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมโดยรวมและรายองค์ประกอบของนักศึกษาแผนกวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จำแนกตาม สถานภาพครอบครัว อาชีพของผู้ปกครอง และระดับชั้นปีที่ศึกษากลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาแผนกวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เพื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของ 2 กลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระต่อกัน(Independent t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนหรือการวิเคราะห์เพื่อทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มากกว่า 2 กลุ่มตัวอย่าง (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธีการของ LSD โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ
ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษา แผนกวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ความเสียสละ ความรับผิดชอบ ความมีระเบียบวินัย ความอดทน ความมีสัมมาคารวะ และความซื่อสัตย์ เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษา แผนกวิชาการตลาด วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาอาชีวศึกษาที่มีสภาพครอบครัวต่างกัน พบว่าพฤติกรรมเชิงจริยธรรม โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านอื่น ๆ แตกต่างกัน นักศึกษาที่มีอาชีพผู้ปกครองต่างกันมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรม โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความรับผิดชอบ ความเสียสละ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านอื่น ๆ แตกต่างกัน และนักศึกษาที่เรียนอยู่ในระดับชั้นที่ศึกษาที่ต่างกันมีพฤติกรรมเชิงจริยธรรม โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน และนักศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะให้ทางวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา มีการยกย่องนักเรียนที่มีจริยธรรมดีเด่น พร้อมมอบเกียรติบัตร ให้กับนักเรียนหน้าเสาธง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2523). “การประชุมทางวิชาการเกี่ยวกับจริยธรรมไทย” แนวทางการพัฒนาจริยธรรมไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
จิรภา คำทา. (2559,พฤษภาคม-สิงหาคม). การศึกษาคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn Universtiy. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 1962-1978.
จุรีรัตน์ บุตรบุญชู. (2556). การส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนบ้านคลองสิบแปด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เจียมจิต บุญรักษ์. (2534). พฤติกรรมทางจริยธรรมตามหลักเบญจธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยพลศึกษาในภาคเหนือ. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ดวงพร อุทัยสุริ. (2548) ศึกษาพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยการอาชีพในจังหวัดสงขลา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ทิพย์ หาสาสน์ศรี. (2553). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธรรมนิตย์ บ้านพวน. (2559). การศึกษาคุณธรรมของนักเรียนโรงเรียนเกาะสีชัง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
นงลักษณ์ วิรัชชัย ชยุตม์ ภิรมย์สมบัติ และศจีมาศ ณ วิเชียร. (2551). การวิจัยและพัฒนาตัวบ่งชี้คุณธรรมจริยธรรม. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสิรม และพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม.
นภีสี ศรีวัฒนทรัพย์. (2551). การศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมด้วยหนังสือ ภาพประกอบการ์ตูนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดศรีมหาโพธิ์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุริวิทยาศาส์น, 2545.
พระครูประโชติ จันทวิมล(นาม จนฺทโชโต). (2555). การส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมนักเรียน โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ หอวัง นนทบุรี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรัญญา แสงพิทักษ์. (2556, กรกฏาคม-ธันวาคม). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณธรรม จริยธรรมของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลบัณฑิต.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี, 29(2), 103-112.
วันวิสาข์ สกุลณี. (2550). การทดลองสอนโดยบทบาทสมมติ เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยะรรมด้านความเมตตา กรุณา สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
วิภาษณ์ เทศน์ธรรม. (2560, กันยายน–ธันวาคม) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของนักศึกษาวิทยาลัยศาสนศาสตร์ยโสธร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 13(3), 156-166.
ศิณาภรณ์ หู้เต็ม. (2552). พฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาในระดับปริญญาตรีวิทยาลัยราชพฤกษ์. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.
สนิท เศวตวงศ์สกุล. (2535). การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมแก่นักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา. พัทลุง : ห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงพิมพ์พัทลุงและเครื่องเขียน.
สุคนธา ซินศิริ. (2554). ศึกษาคุณธรรมจริยธรรมของนักศึกษาระดับช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนชลราษฎรอำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาชลบุรี เขต 18. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภาพร สุขสวัสดิ์. (2552). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโรงเรียนสตรีนนทบุรี. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Krejcie, Robert V. and Daryle W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities” Educational and PsychologicalMeasurement.30(3)