การศึกษาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

Main Article Content

อิสราวัชร เฟื่องอิ่ม
นารถนรี เฟื่องอิ่ม
สุมาพร จั่นศรี
พรวิลัย วัฒนศิริ
จิรพงษ์ เทียนแขก
ตั้ม คำพ่วง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 2) ปัญหาและอุปสรรคการประกันคุณภาพภายใน และ3) การนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในมาเป็นแนวทางในการพัฒนางานประกันคุณภาพ


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่เลือกคือ คู่มือประกันคุณภาพการศึกษา และรายงานการประเมินตนเอง พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ.2562 รวมทั้งหมด จำนวน 3 เล่ม และผู้บริหาร และบุคลากรที่รับผิดชอบงานการประกันคุณภาพระดับมหาวิทยาลัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 64 คน เครื่องมือการวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการประมวลผลและเรียบเรียงสรุปประเด็นสำคัญด้วยการบรรยายเชิงพรรณนา และค่าร้อยละ


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิเคราะห์เปรียบเทียบผลคะแนนประเมิน 3 ปีการศึกษา 4 พันธกิจ มีลักษณะดังนี้ (1)ด้านการเรียนการสอน (การผลิตบัณฑิต) เกณฑ์คะแนนพัฒนาดีขึ้นคือปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก ได้แก่ การบริการนักศึกษา  และกิจกรรมพัฒนานักศึกษา(2) ด้านการวิจัยมีเพียงตัวบ่งชี้เรื่องเงินสนับสนุนงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ปีการศึกษา 2561 อยู่ในระดับดี นอกนั้นไม่ต่างกันคือระดับดีมาก  (3) ด้านบริการวิชาการสังคมมีคะแนนประเมินภาพรวมอยู่ในระดับเดียวกัน คือ ดีมาก (4) ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม  มีคะแนนประเมินอยู่ในระดับเดียวกัน คือ ดีมาก ภาพรวมมีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น ส่วนข้อคิดเห็นจากคณะกรรมการ  จุดแข็งของคณะฯ คือ การบริหารจัดการหลักสูตรของแต่ละหลักสูตร ระบบสารสนเทศด้านงานวิจัย การบริการวิชาแก่สังคมที่ได้ผลเป็นอย่างดีสามารถต่อยอดในชุมชนได้ และมีบุคลากรที่มีความสามารถเป็นที่ยอมรับในด้านศิลปวัฒนธรรมระดับชาติ  ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงเน้นที่การผลิตบัณฑิตในตัวบ่งชี้ของการพัฒนานักศึกษา การคงอยู่ และมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ระดับนานาชาติ 2) ปัญหาและอุปสรรคการประกันคุณภาพภายในจากผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ จำแนกได้เป็นผู้บริหารร้อยละ 12.5  บุคลากรสายวิชาการร้อยละ 75.00 และบุคลากรสายสนับสนุนร้อยละ 12.5  ผู้มีประสบการณ์ในการทำงานต่ำกว่า 10 ปี ร้อยละ 32.80 และผู้มีประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไปร้อยละ 67.20 ได้แก่ การคงอยู่ของบัณฑิต สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนความทันสมัยไม่เพียงพอต่อยุคปัจจุบัน  การวิจัยที่มีการะกระจุกตัวอยู่เพียงบางกลุ่ม บางหลักสูตรยังมีงานวิจัยน้อยเนื่องจากขาดแหล่งทุนด้านงบประมาณ  และการบูรณาการทางศิลปะและวัฒนธรรมกับการเรียนการสอนยังมีน้อย  3) แนวทางการพัฒนาที่ได้ ได้แก่ การแนะแนวการศึกษาและให้คำปรึกษากับนักศึกษา  การเพิ่มสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่ทันสมัยเหมาะกับยุคปัจจุบัน  จัดสรรงบประมาณวิจัยให้กระจายภายในคณะฯทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน จัดการประชาสัมพันธ์แหล่งทุนวิจัย   การกำหนดแผนงานการบริการวิชาการที่ชัดเจนตามกรอบพื้นที่ และเพิ่มการบูรณาการกับการเรียนการสอนและวิจัยเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา. (2561). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://qa.vru.ac.th/pdf/2560/กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา. Pdf. [2564, เมษายน 26].

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,สำนักงาน. (2554). แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน,สำนักงาน. (2554). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ,สำนักงาน. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

จันทรเกษม, มหาวิทยาลัยราชภัฏ (ม.ป.ป). คู่มือการบริการวิชาการแก่สังคม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

ฉวีวรรณ บุญคุ้ม (2551) ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถาบันราชภัฏนครปฐม [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก: https://tdc.thailis.or.th [2562, ตุลาคม 18]

ประสิทธิ์ เขียวศรี. (2557) การประกันคุณภาพการศึกษา [ออนไลน์] เข้าถึงได้จากhttp://www.sl.ac.th/html_edu/cgibin. [2563, ธันวาคม 28]

พนิดา วัชระรังสี. (2556). การรับรู้ และการมีส่วนร่วมการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากร ระดับอุดมศึกษา เขตนนทบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

พงศ์สวัสดิ์. (2556). หลักสูตรฝึกอบรมระบบการบริหารงานคุณภาพแบบมุ่งคุณภาพองค์กรใน สถาบันอาชีวศึกษาเอกชน หน่วยที่ 3 เรื่อง กำหนดเป้าหมายและความท้าทาย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://pongsawadi.ac.th. [2562, ตุลาคม 15].

เพชราวดี จงประดับเกียรติ. (2559) เอกสารประกอบการสอน วิชาการวิจัยทางการศึกษา กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. (2555). คู่มือปฏิบัติงานการบูรณาการพันธกิจ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราช วิทยาลัย.

มหาสารคาม, มหาวิทยาลัย. (2560). ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://research.msu.ac.th. [2562, ตุลาคม 15].
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี (2557). คู่มือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม. ยะลา: วิทยาลัยพยาบาล บรมราชชนนี.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2557). คู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

สำนักงานประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (2564). ความหมายและความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://www.eqa.rmutt.ac.th/?page_id=850. [2564, เมษายน 26].

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. (2558) คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาสำนักวิทย บริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

อัญชลี ธรรมะวิธีกุล. (2551). การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก:https://panchalee.wordpress.com/2009/03/27/การประกันคุณภาพ. [2564, เมษายน 26].

เอกนฤน บางท่าไม้. (2554). เอกสารประกอบการบรรยาย “ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Bartlett, R. & Jones, K. O. (2004). Quality Assurance Systems in Higher Education: A UK Perspective. [Online].Available: http://web.a.ebscohost.com. [2019, October 22]

LeMahieu, PG, Nordstrom, LE & Cudney, EA (2017, February 6), "Six Sigma in Education", Quality Assurance in Education, 25(1), p. 91-108

Hrmo, R, Mistina, J. & Knstofiakova, L. (2016). Improving the Quality of Technical And Vocational Education in Slovakia for European Lab our Market Needs. [Online].Available: http://web.a.ebscohost.com [2019, October 22]

Overberg, J. and other (2019, January) Internal quality management in Competence-based higher education – An interdisciplinary pilot study Conducted in a postgraduate programmer in renewable energy. Solar Energy, 1(177), 337-346.

Wilson, D. (2010, November) Quality assurance for education. American Printer 11, (127), 40-43.