ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจกับสภาพการดำเนินงานมาตรฐาน การดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร

Main Article Content

กัทลี ตาคำ
พิษณุ บุญนิยม

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพการดำเนินงานของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2) ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการดำเนินงานของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจกับสภาพการดำเนินงานตามมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 104 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินงานของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในพื้นที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ในระดับมากทุกด้าน ดังนี้ 1) ด้านบุคลากรและการบริหารจัดการ 2) ด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย 3) ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมและการสนับสนุนจากชุมชน ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการดำเนินงานของบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร ด้านความก้าวหน้าในอาชีพมีผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครูในระดับมากที่สุด รองลงมาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการ ด้านการได้รับการยอมรับนับ ด้านลักษณะของงานที่และด้านความรับผิดชอบ และปัจจัยแรงจูงใจกับสภาพการดำเนินงานมาตรฐานการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่อำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับมาก (r=.731) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร. (2562). ข้อมูลครูและบุคลากรศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในอำเภอขาณุวรลักษบุรี. สืบค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2562.

พิทยาภรณ์ มานะจุติ. (2549). การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมระดับปฐมวัย. เชียงใหม่ : ส.การพิมพ์.

เบญจวรรณ ศรศรี, สุขุม เฉลยทรัพย์. (2556). การบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ภรณี ยิ่งคุ้ม. (2556). ความคาดหวังผู้ปกครองในการจัดการศึกษาปฐมวัย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตําบลดอนข่อย อําเภอกําแพงแสน จังหวัดนครปฐม. มหาวิทยาลัยทองสุข.

เลิศลักษณ์ ริยะวงษ์. (2553). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองคารบริหารส่วนตำบลตลิ่งชัน อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษาในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ.2545-2559). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

ธีรศักดิ์ แสงดิษฐ์. (2553). แรงจูงใจของชุมชนกับการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาราชบุรี เขต 1. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ่งทิพย์ พรหมศิริ. (2549). ปัจจัยเชิงพหุระดับที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาที่ดำเนินการตามโครงการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

ลัดดาวัลย์ ศานตินิรันดร. (2538). แรงจูงใจในการทำงานกับพฤติกรรมการสอนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อุกกฤษฎ์ ฟุ้งขจร. (2539). ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วันเพ็ญ ศรประสิทธิ์. (2547). ศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูสำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

วันเพ็ญ หินขาว. (2552). แรงจูงใจและแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาจันทบุรี เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

นงนารถ โซ๊ะมณี. (2552). ความสัมพันธ์การใช้อํานาจของผู้อํานวยการ โรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนขยายโอกาส ในอําเภอบางน้ำเปรี้ยว สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพศาล อานามวัฒน์. (2543). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนคาทอลิก สังฆมณฑลจันทบุรี. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นภัสสร สว่างโคตร. (2553). การดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามทัศนะของบุคลากรเขตอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 4(1), 39-50.

Taro Yamane. (1973 ). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdEd. New York. Harper and Row Publications.