ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคหมวก 6 ใบ ในการเสริมสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้รายวิชาศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

Main Article Content

ชญาน์นันท์ ศิริกิจเสถียร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาที่เรียนโดยใช้เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบในการเสริมสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ เรื่อง โครงการพระราชดำริ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2/2563 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ จำนวน 4 แผน 12 ชั่วโมง แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.70 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 10 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น 0.70 แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความสามารถในในการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยโดยใช้เทคนิคการคิดหมวก 6 ใบ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.33, S.D. = 0.48) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

ภูติญา บัวระกา และสิทธิพล อาจอินทร์. (2560). การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดอย่างมีวิจารญาณร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวก 6 ใบ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(1), 119-129.

ยุพาวดี มหาหิง. (2558). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบผสมผสานร่วมกับหมวกความคิด 6 ใบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วิไลลักษณ์ สายเสน่ห์. (2556). ผลการสอนโดยใช้เทคนิควิธีสอนแบบหมวกความคิดหกใบในวิชาการคิดเชิงวิจารณญาณและสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. รายงานผลการวิจัยในชั้นเรียน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศิริพร ศรีสุวรรณ์. (2557). การศึกษาความสามารถทางการอ่านอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาปริญญาบัณฑิตที่จัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคหมวกหกใบ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สริญญา มารศรี. (2562). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในศตวรรษที่ 21. วารสาร มจร นครน่านปริทรรศน์, 3(2), 105-122.

สุรีพร เขียวสมบัติ และอังคณา อ่อนธานี. (2558). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีสร้างองค์ความรู้ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวก 6 ใบ ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(2), 30-42.

เดอโบโน เอ็ดเวิร์ด. (2546). หมวกหกใบคิดหกแบบ Six Think Hats, สุดตระการ ธนโกศศ และคณะแปลและเรียบเรียง. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ชานชาลา.

Kivunja, C. (2015). Using De Bono’s Six Thinking Hats Model to Teach Critical Thinking and Problem Solving Skills Essential for Success in the 21st Century Economy. Creative Education, 6, 380-391. doi: 10.4236/ce.2015.63037.