รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการอาชีพสำหรับการพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

Main Article Content

น้ำฝน กันมา
ลำไย สีหามาตย์
วิลาวัลย์ สมยาโรน

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบการมีส่วนร่วมในตำบลบ้านถ้ำ เพื่อส่งเสริมการบูรณาการอาชีพจากการท่องเที่ยว มีวัตถุประสงค์เพื่อ     1) เพื่อประเมินสถานการณ์การท่องเที่ยวและความต้องการการเรียนรู้ของบุคลากรท้องถิ่นในการจัดการการท่องเที่ยว 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการอาชีพสำหรับการพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา และ 3) เพื่อเผยแพร่รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการอาชีพสำหรับการพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยาสู่ชุมชน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ บุคลากรเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ จำนวน 16 คน ผู้ประกอบการ จำนวน 13 คน กลุ่มผู้นำชุมชน จำนวน 6 คน ประชาชนทั่วไป จำนวน 50 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวและการจัดการความรู้ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูล 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบบันทึกความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบฯ 4) แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบฯ และ 5) แบบประเมินความสอดคล้องขององค์ประกอบของรูปแบบฯ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. แผนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลบ้านถ้ำไม่ครอบคลุมทุกแผนงานตามที่จังหวัดกำหนด โดยมีข้อจำกัดด้านการบริหาร ด้านงบประมาณ บุคลากรขาดความรู้ด้านการท่องเที่ยว รวมทั้งขาดการประสานความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน แต่การพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวมีความเป็นไปได้ใน 2 ประเด็น ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้มีทั้งหมด 9 ขั้นตอน คือ 1) การตั้งคณะกรรมการ 2) กำหนดรูปแบบและแหล่งท่องเที่ยว 3) พัฒนาความรู้ด้านการท่องเที่ยวและอาชีพ 4) พฤติกรรมนักท่องเที่ยว 5) สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการ 6) การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 7) สินค้า/ของที่ระลึก 8) การประชาสัมพันธ์ 9) ทบทวนผลการดำเนินงาน โดยรูปแบบฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก และ 3. การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์รูปแบบฯ โดยนำเสนอข้อมูลผ่านเว็บไซต์ https://sites.google.com/up.ac.th/ban-tham-travel-model ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ Facebook, Website, Line

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2562, จาก https://www.etda.or.th/th/

ขวัญยุพา ศรีสว่าง และมัสลิน บัวบาน. (2557). การพัฒนารูปแบบการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของตลาดบางหลวง อ.บางเลน จ.นครปฐม. วารสารวิทยาการจัดการ, 1(2), 15–29.

คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา). กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

เทศบาลตำบลบ้านถ้ำ. (2561). แผนพัฒนาสี่ปี (พ.ศ.2561-2564). พะเยา: เทศบาลตำบลบ้านถ้ำ.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศ์รัชต์ธวัช วิวังสู, อรจิรา ธรรมไชยางกูร, ผ่องพรรณ จันทร์กระจ่าง และสุภาวดี พุ่มไสว. 2560. แนวทางจัดการศึกษาเชิงบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (WiL) สำหรับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. วารสารวิชาการและวิจัย สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(2), 1-9.

เพ็ญจันทร์ สังข์แก้ว. (2544). การบริหารการฝึกอบรม. นครสวรรค์: หจก.ริมปิง.

วิลาวรรณ รพีพิศาล. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์วิจิตรหัตถกร.

วีระพันธ์ แก้วรัตน์. (2553). เอกสารประกอบการสอนวิชาการฝึกอบรมและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. ลําปาง: มหาวิทยาลัยโยนก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.