ความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรม และการบริหารงานของผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ จังหวัดชายแดนใต้

Main Article Content

วรัญชิดาธรณ์ พลานิวัติ
พิมลทิพย์ ชุณหพิมล
ธวัชชัย สุนทรนนท์
นิรันดร์ จุลทรัพย์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรม และการบริหารงานของผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ และ 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรม และการบริหารงานของผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ จำแนกตาม เพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน โดยใช้กรอบแนวคิดของพระเมธีธรรมาภรณ์ยึดหลักธรรมการบริหารงาน 4 ประการ และแนวคิดทฤษฎีสองปัจจัยของเฮอร์เบิร์ก กลุ่มตัวอย่างเป็นครูและบุคลากรทางการศึกษาสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 132 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามมี 3 ตอน ประกอบด้วย (1) สอบถามสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม (2) สอบถามความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรมของผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอและ (3) สอบถามความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) แต่ละข้อระหว่าง 0.66 - 1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบความแตกต่างของค่าที (t-test) ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวน (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความพึงพอใจต่อพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรมของผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅= 4.44, SD. = 0.17) และเมื่อพิจารณารายด้านพบว่าความพึงพอใจทุกรายการอยู่ในระดับมาก (X ̅= 4.32 – 4.39, SD = 0.15 – 0.35) ยกเว้นด้าน วิริยพละ (ขยัน) อยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่น ๆ (X ̅= 4.67, SD = 0.17) และด้านสังคหพละ (มนุษยสัมพันธ์) มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้านอื่น ๆ (X ̅ = 4.32, SD = 0.35) 2) ระดับความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อการบริหารงานของผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅ = 4.24, SD. = 0.43) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ความพึงพอใจทุกรายการอยู่ในระดับมาก (X ̅= 4.02 – 4.32, SD. = 0.49 – 0.62) ยกเว้นด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านอื่น ๆ (X ̅= 4.56, SD. = 0.50) และด้านนโยบายและการบริหารมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าด้านอื่น ๆ แต่ยังคงอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (X ̅= 4.07, SD. = 0.55) 2) การเปรียบเทียบความพึงพอใจของครูและบุคลากรทางการศึกษาต่อพฤติกรรมคุณธรรมจริยธรรม พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศต่างกัน มีความพึงพอใจต่อพฤติกรรมคุณธรรม จริยธรรมของผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงานไม่แตกต่างกัน และจากการเปรียบเทียบกลุ่มตัวอย่างที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการบริหารงานของผู้อำนวยการสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอ จังหวัดชายแดนใต้ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนเพศ และระดับการศึกษา ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โชติกา เศรษฐธัญการ. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ภาษาระหว่างเพศหญิงกับเพศชายที่สะท้อนให้เห็นภาพพจน์ทางเพศ. วารสารมังรายสาร, 7(2), 17-31.

ฐิติพร เสริมสัย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูกับการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนดาราสมุทร อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3. วิทยานิพนธ์รศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎีวิจัยและปฏิบัติทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: เนติกุล.

นิชนันท์ รื่นสุข. (2563). การศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอหันคา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10, ฉบับปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปัญญา พลสมบัติ. (2557). ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการบริหารงานในโรงเรียน เขตอำเภอวังหิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

พระครูภัทรธรรมคุณ. (2554). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารการศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาในอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาศรัณญู อุทยวโร (ปิ่นอำคา). (2560). ภาวะผู้นำตามหลักพละ 4 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมจิตโต). (2539). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2559). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในจังหวัดจันทบุรี ระยอง และตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี.

สุดารัตน์ รักเดช. (2557). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนในอำเภอบางบัวทอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

อาคม มากมีทรัพย์. (2557). จริยธรรมผู้บริหารสถานศึกษา. สุทธิปริทัศน์, 28(87), 304-322.

Herzberg, F., Mausner, B., & Synderman, B, B. (1959). The Motivation to Work. New York, USA: John Willay & Sons.