การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นทักษะสัมมาอาชีพ ของครูโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

จันธิมา ทรายสาลี
ธิดาวัลย์ อุ่นกอง
ศิโรจน์ ศรีสรากรณ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นทักษะสัมมาอาชีพ ของครูโรงเรียนวัดหมื่น พุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ก่อนและหลังพัฒนา  2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของสามเณรนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นทักษะสัมมาอาชีพ ของครูโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นทักษะสัมมาอาชีพ ของครูโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา  อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัย เป็นครูโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา จำนวน 17 คน สามเณรนักเรียนโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา จำนวน 124 รูป ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นทักษะสัมมาอาชีพ ของครู แบบสอบถามความพึงพอใจของสามเณรนักเรียน และแบบสอบถามปลายเปิดเกี่ยวกับปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นทักษะสัมมาอาชีพ ของครู มีค่าความเชื่อมั่น 0.739245 และ 0.746204453 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาโดยใช้  t-test  ข้อมูลปัญหาการจัดการเรียนรู้วิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า


  1. ผลการเปรียบเทียบทักษะการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นทักษะสัมมาอาชีพ ของครูโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน  มีคะแนนประเมินหลังการอบรม สูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

  2. สามเณรนักเรียนความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นทักษะสัมมาอาชีพ ของครูโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

ปัญหาที่พบการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่เน้นทักษะสัมมาอาชีพ ของครูโรงเรียนวัดหมื่นพุทธวิทยา อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย คือ     1) ครูไม่มีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) ภาระงานสอนและงานพิเศษมีมากไม่สามารถให้เวลากับการเรียนการสอนได้เต็มเวลา    3) ครูมีทักษะการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการเรียนรู้และการค้นคว้าข้อมูลไม่เพียงพอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ : สานักนายกรัฐมนตรี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนา การศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 10. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวน การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวน การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2553). คู่มือการจัด ระบบการเรียนการสอน ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : เทียนวัฒนา พริ้นท์ติ้ง.

ศรัณยู หมื่นเดช. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบโครงงานร่วมกับสื่อสังคม เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, (22)2.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2557). ข้อเสนอโครงการประเมินผลการดำเนินงานของสานักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) รอบ 3 ปี (พ.ศ. 2555-2557).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการเสริมทักษะและสร้างเสริมประสบการณ์อาชีพให้กับนักเรียน. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท..

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาการศึกษา.

อภิชาติ เลนะนันท์. (2559). การพัฒนาการสอนแบบโครงงาน สำหรับครูประถมศึกษา จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยศิลปากร, (9) 2, 965.