การศึกษาภูมิปัญญาและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรท้องถิ่น เขาโกรกปลากั้ง จังหวัดกำแพงเพชร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้วัตถุประสงค์ 1. ศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของหมอยาพื้นบ้านและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำแผนกแพทย์แผนไทยกับการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรท้องถิ่น 2. หาแนวทางการจัดการการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มกับหมอยาพื้นบ้านและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำแผนกแพทย์แผนไทย ผลการศึกษาพบว่า มีภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์สมุนไพรท้องถิ่น ส่วนที่ใช้ทำยา สรรพคุณ และวิธีการใช้โดยมีหมอยาพื้นบ้านเป็นผู้ที่มีบทบาท แนวทางการจัดการการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรท้องถิ่นอย่างเหมาะสม คือ 1. ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรท้องถิ่นอย่างคุ้มค่า 2. การจัดการองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้พืชสมุนไพรโดยการถ่ายทอดองค์ความรู้จากหมอยาพื้นบ้านเพื่อเก็บรวบรวมองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านพืชสมุนไพร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
เพ็ญนภา ทิพย์สุราษฎร์. (2559). การศึกษาพืชสมุนไพรท้องถิ่นและภูมิปัญญาด้านการใช้พืชสมุนไพร กรณีศึกษา : อุทยานแห่งชาติแก่งกรุง จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อม.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ยิ่งยง เทาประเสริฐ. (2546). วิถีการดูแลรักษาสุขภาพในระบบการแพทย์พื้นบ้านล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่. วนิดา เพรส.
สามารถ ใจเตี้ย. (2560). ปัจจัยทำนายการใช้วัฒนธรรมสุขภาพเพื่อการเสริมสร้างสุขภาพของประชาชนลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 22(2),150-158.
สุนทรี จีนธรรม และคณะ. (2558). การศึกษาความหลากหลายของพรรณพืชสมุนไพรและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการ มีส่วนร่วมของชุมชนบ้านดงบัง ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย. 10(3), 1-8.
สุภรัชต์ อินทรเทพ และคณะ. (2560). สภาพปัญหาและแนวทางพัฒนาการถ่ายทอดภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ในการดำรงชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน จังหวัดสระแก้ว. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 12(2), 275-285.
สุรวิช วรรณไกรโรจน์ และคณะ. (2559). เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. วารสารพืชสวน. 16(2),1-2.
สุไลวรรณ์ เรืองรอด และนพรัตน์ ไชยวิโน. (2558). ความหลากหลายของพรรณไม้ในพื้นที่ฝายกั้นน้ำ เขาโกรกปลากั้ง จ.กำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 (134 - 142). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
สามารถ ใจเตี้ย และณรงค์ ณ เชียงใหม่. (2560). ปัจจัยทำนายการใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรพื้นบ้านของประชาชนลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารราชพฤกษ์. 15(3),1-78.
สุวิมล ทองแกมแก้ว. (2560). การสำรวจพืชสมุนไพรและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยพิบูลสงคราม.
รอฮานี เจะแม. (2558). การใช้ประโยชน์พืชสมุนไพรของประชาชนที่อาศัยรอบพื้นที่เขาปกโย๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 21(4),1-15.
สามารถ ใจเตี้ย และพัชรี วงศ์ฝั้น. (2560). ความหลากหลายและการใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพรลุ่มน้ำลี้ จังหวัดลำพูน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. 9(1),13-22.