การศึกษาความหมายเชิงวัฒนธรรมจากอาหาร ในเทศกาลตรุษจีนของชาวไทยเชื้อสายจีน
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมายเชิงวัฒนธรรมจากอาหารในเทศกาลตรุษจีนจากอาหาร 5 ประเภท โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์
แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ ดังนี้ 1. อาหารในเทศกาลตรุษจีน 2. ภาษาและวัฒนธรรมในอาหาร ผลการศึกษาพบว่าอาหารในเทศกาลตรุษจีนแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ อาหารประเภทเส้น อาหารประเภทเนื้อสัตว์ อาหาร
ประเภทขนม อาหารประเภทผลไม้ และอาหารประเภทข้าว อาหารทุกประเภทล้วนแฝงไปด้วยเรื่องราว ความเชื่อ และความหมายมงคล ซึ่งความหมายของอาหารได้มาจากชื่อเรียกของอาหารที่เป็นภาษาจีนดั้งเดิม ภาษาไทยที่
ผ่านการแปล และเรียกแบบทับศัพท์ เป็นต้น ด้านความหมายของอาหารมักจะมาจากคำพ้องเสียงหรือตัวอักษรจีนในภาษาจีนกลาง รวมไปถึงการแปลความหมายของชื่อเรียกอาหารจากภาษาจีนสำเนียงอื่น ๆ ส่วนความหมายเชิงวัฒนธรรมทำให้ทราบถึงการสะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตของชาวไทยเชื้อสายจีนที่มีต่อเทศกาลสำคัญอย่างเทศกาลตรุษจีน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารพิกุล ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารพิกุล หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด ๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารพิกุล ก่อนเท่านั้น
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2563). ตามรอยแต้เหลี้ยว สู่ขนมจันอับ. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=5081&filename=index
ชนาภา เมธีเกรียงไกร. (2559). กระบวนการสืบทอดประเพณีทางสังคมของชาวไทยเชื้อสายจีน ชุมชนตลาดบ้านใหม่ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 11(22): 90-98.
ถาวร สิกขโกศล. (2555). เปิดตำนานเทศกาลจีน. กรุงเทพฯ: มติชน.
นันทนา ปรมานุศิษฏ์. (2563). โซว่เมี่ยน ผัดหมี่ซั่ว บะหมี่อายุยืนอาหารยอดนิยมในเทศกาลมงคลของจีน. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2563, จาก https://www.sentangsedtee.com/exclusive/article_136115
พชร ธนภัทรกุล. (2560). ไก่กับวัฒนธรรมจีน. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2563, จาก https://mgronline.com/china/detail/9600000001161
___________. (2561). หมูกับวัฒนธรรมอาหารของชาวจีน. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2563, จาก https://mgronline.com/china/detail/9610000076991
พรพรรณ จันทโรนานนท์. (2549). ฮก ลก ซิ่ว : โชค ลาภ อายุยืน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มติชน.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.
รุ่งทิพย์ พรหมจันทร์, อภิสิทธิ์ ประสงค์สุข. (2562). อาหารจีนต้นตำรับแบบฉบับภัตตาคาร. กรุงเทพฯ: แม่บ้าน.
วรศักดิ์ มหัทธโนบล (2555). คำจีนสยาม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
ศรีมหาโพธิ์. (2541). ประเพณีธรรมเนียมจีน : พิธีแต่งงาน เทศกาลตรุษจีน วันสารทจีน วันเช็งเม้ง เทศกาลกินเจ งานทิ้งกระจาด พิธีงานศพจีน ความเชื่อโชค ลาง. กรุงเทพฯ: เคล็ดไทย.
สุชาติ ภูมิบริรักษ์. (2529). ตรุษจีนในเมืองจีนแผ่นดินใหญ่. กรุงเทพฯ: สำนักศิลปวัฒนธรรม.
เสี่ยวจิว. (2556). ที่เรียกว่า 'แต้จิ๋ว'. กรุงเทพฯ: มติชน.
แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย. (2550). วิถีจีน-ไทย ในสังคมสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน.
ฮ. ศุภวุฒิ จันทสาโร. (2560). หอเจี๊ยะตึ้ง. กรุงเทพฯ: ยิปชี กรุ๊ป.