ผลกระทบของคุณภาพการรายงานทางการเงินที่มีต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีตัวแปรความหลากหลายของสภาพแวดล้อมเป็นตัวแปรกำกับ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของคุณภาพการรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) ที่มีต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารในธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเพื่อทำการศึกษาความหลากหลายของสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ (TFRS for NPAEs) และประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารในธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเปฺนเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถานประกอบการธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างทั้งสิ้นจำนวน 312 แหง่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยผลการศึกษาพบคุณลักษณะขององค์ประกอบคุณภาพรายงานการเงินที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่ามี 4 คุณลักษณะ ได้แก่ ดา้ นความเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ ด้านคุณลักษณะการเปรียบเทียบกันได้ ด้านการยืนยันความถูกต้องได้ และด้านการทันต่อเวลา และนอกจากนี้ยังพบว่าความหลากหลายของสภาพแวดล้อมส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพรายงานทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารธุรกิจ SMEs ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติผลวิจัยที่ได้จะให้ข้อมูลต่อผู้บริหารของกิจการ SMEs ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้การจัดทำรายงานการเงินมีคุณภาพ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจให้กับผู้บริหาร
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. (พิมพ์ครั้งที่ 27). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สามลดา
ณัฐวุฒิ ตันติเศรษฐ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของงบการเงินและประสิทธิผลในการตัดสินใจของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. ปีที่ 6, ฉบับที่ 2, หน้า 20-35
ดารณี เอื้อชนะจิต. (2551). ผลกระทบของคุณภาพข้อมูลทางบัญชี และลักษณะองค์กรธุรกิจที่มีต่อประสิทธิภาพ
การตัดสินใจของผู้บริหารในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. รายงานผลการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัย : แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย จำกัด
ประกาศสภาวิชาชีพบัญชี. (2558, 6, พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. ตอนพิเศษ 286 ง. หน้า 1-34
พัชริน วิเศษประสิทธิ์, จุลสุชดา ศิริสม และเดช กาญจนางกูร. (2553). ผลกระทบของความน่าเชื่อถือของข้อมูลทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของธุรกิจ SMEs ในภาคเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ. ปีที่ 2, ฉบับที่ 1, หน้า 35-45
วราภรณ์ นาคใหม่ และสมยศ อวเกียรติ. (2558). การประยุกต์ใช้การบัญชีบริหารที่มีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจในเขตภาคกลาง. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. ปีที่ 7, ฉบับที่ 1, หน้า 39-53
ศิริลักษณ์ แซ่อุ่น. (2552). ผลกระทบของประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้มาตรฐานการบัญชีที่มีต่อคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. (2556). มาตรฐานการรายงานทางการเงินสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะ. เข้าถึงเมื่อ (28 พฤษภาคม 2556). เข้าถึงได้จาก (https://fap.or.th.a33.readyplanet.net/images/column_1359010309/NPAE_web_060554.pdf)
สมยศ นาวีการ. (2550). การบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : บรรณกิจ 1991
สมาคมผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย. (2560). SMEs หัวใจที่แท้จริงของเศรษฐกิจไทย. เข้าถึงเมื่อ (8 สิงหาคม 2562). เข้าถึงได้จาก (https://www.tasme.or.th/article/822)
สุวดี สัตยารักษ์วิทย์ และอัญชลี พิพัฒนเสริญ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการกำกับดูแลกิจการและระยะเวลาที่ใช้ในการออกรายงานการสอบบัญชี. วารสารวิชาชีพบัญชี. ปีที่ 8, ฉบับที่ 22, หน้า 65-81
สายฝน วิลัย, สมใจ บุญหมื่นไวย และพรพิมล อิฐรัตน์. (2558). คุณภาพข้อมูลทางบัญชีที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการตัดสินใจของผู้บริหารในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. ปีที่9, ฉบับที่ 2, หน้า 19-27
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2560). บทสรุปผู้บริหาร : รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2560. เข้าถึงเมื่อ (20 กรกฎาคม 2562). เข้าถึงได้จาก (https://2_Executive_summary_Th_1%20(2).pdf)
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2555). บทสรุปผู้บริหาร : โครงการสำรวจข้อมูลเชิงลึกในพื้นที่ 55 จังหวัด. เข้าถึงเมื่อ (20 สิงหาคม 2556). เข้าถึงได้จาก (https://119.63.93.73/smebiweb/img/doc02.pdf)
Aaker, D. A., Kumar, V., and Day, G. S. (2001). Marketing Research. 7th edition. N. Y. : John Wiley and Son Inc:
Anderson, S. W. and Lanen, W. N. (1999). Economic Transition, Strategy and the Evolution of Management Accounting Practices: The Case of India. Accounting, Organizations and Society. Vol. 24, Issue 5-6, pp. 379-412. DOI: 10.1016/S0361-3682(97)00060-3
Armstrong, S. J. and Overton, T. S. (1977). Estimating Nonresponse Bias in Mail Surveys. Journal of Marketing Research. Vol. 14, Issue 3, pp. 396-402
Goll, I. and Rasheed, A. A. (2004). The Moderating Effect of Environmental Munificence and Dynamism on the Relationship Between Discretionary Social Responsibility and Firm Performance. Journal of Business Ethics. Vol. 49, Issue 1, pp 4-54
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., and Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. 7th Edition. N. J. : Prentice Hall. Upper Saddle River
Tang, J. (2008). Environmental Munificence for Entrepreneurs: Entrepreneurial Alertness and Commitment. International Journal of Entrepreneurial Behaviour and Research. Vol. 4, pp. 128-151. DOI: 10.1108/13552550810874664
Lawrence, P. R. and Lorsch, J. W. (1967). Differentiation and Integration in Complex Organizations. Administrative Science Quarterly. Vol. 12, pp. 1-4. DOI: 10.2307/2391211
Punchaporn, S., Ussahawanitchakit, P., and Boonlua, S. (2013). Internal Audit Proficiency and Firm Goal Achievement: An Empirical Investigation of Thai-Listed Firms. International Journal of Business Research. Vol. 13, Issue 2, pp. 111-136. DOI: 10.18374/IJBR-13-2.9
Robert H. L. (2002). Strategic Reward Management : Design, Implementation and Evaluation. USA : Age Publishing Inc.
Simon, H. A. (1997). Administrative Behavior : a Study of Decision-Making Processes in Administrative Organizations. 4th editions. N. Y. : Free Press
Yamane, T. (1973). Statistics an Introductory Analysis. 3rd Edition. N. Y. : Harper & Row