คุณภาพชีวิตในการทำงานและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

Main Article Content

สุทธภา รติรัชชานนท์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 236 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่าแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับสูงกว่าคุณภาพชีวิตในการทำงาน โดยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าคุณภาพชีวิตในการทำงานและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์มีผลต่อประสิทธิผลการทำงาน โดยคุณภาพชีวิตในการทำงาน 5 ค้านประกอบด้วย ค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม สภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ความมั่นคงและความก้าวหน้าในงาน การพัฒนาความสามารถของพนักงาน และความเสมอภาค ในองค์การ พบว่าด้านที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำงาน คือ การพัฒนาความสามารถของพนักงาน และค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ในขณะที่แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ 4 ด้าน ประกอบด้วย ความกระตือรือร้นความกล้าเลี่ยง ความรับผิดชอบต่อตนเอง และการรู้จักวางแผน พบว่าด้านที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำงานคือ การรู้จักวางแผน โดยที่คุณภาพชีวิตในการทำงานและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทั้ง 9 ด้าน เป็นตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ประสิทธิผลการทำงาน ได้ร้อยละ 55.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
รติรัชชานนท์ ส. (2016). คุณภาพชีวิตในการทำงานและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่มีผลต่อประสิทธิผลการทำงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 67–79. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RMUTI_SS/article/view/193646
บท
บทความวิจัย

References

ณัฏฐ์กฤตา อภิโชติภพนิพิฐ. (2550). ความส้มพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับแรงจูงใจในการทำงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงาน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ภาควิชามนุษยศาสตร์. กรุงเทพมทานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ยูแอนด์ไออินเตอร์ มีเดีย จำกัด

เบญจรัตน์ เหลือล้น. (2553). การรับรู้ลักษณะงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับการปฏิบัติงานของพยาบาลดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่องในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ภัทรานี ศรีประมวล และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). ความพึงพอใจในการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการตำรวจกองกำกับการ 1 กองบังคับการปราบปราม. วารสารการเงิน การลงทุนการตลาด และการบริหารธุรกิจ. ปีที่ 3. ฉบับที่ 4. หน้า 100-116

อารวย ดีเลิศ. (2549). ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจสอบภายใน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร. ปริญญารัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาบริหารทั่วไป. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา

อุดม พินธุรักษ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดส่านักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Barney, J. B. (1991). Firm resources and sustained competitive advantage. Journal of Management. Vol. 17. No. 1 pp. 99-120

Huse, E. F and Cumming, T. G. (1985). Organization development and change. Minneapolis: West Publishing

MeCelland, D. C. (1961). The Achieving Society. Princeton: D. Van Nonstrand Company, Inc.

Penrose, E. T. (1959). The Theory of the Growth of the Firm. Basil Blackwell. Oxford.

Rovinelli, R. J. and Hambleton, R. K. (1997). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research.

Steers, Richard M. (1981). Introduction to Organizational Behavior. Glenview : Scott, Foresman and Company.

Walton, R. E. (1973). Quality of working life. Sloan Management Review. Vol. 15. No. 1. pp.11-12
Wernerfelt, B. (1984). A Resource-Based View of the Firm. Strategic Management Journal. Vol. 5. No. 2. pp.171-180