การเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้บทสนทนาความมั่นใจในตนเอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่อง Places ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมโดยใช้สถานการณ์จำลองกับกระบวนการกลุ่มร่วมมือแบบ CO - OP CO - OP

Main Article Content

สุจิตรา แสนคมคาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยไข้บทสนทนาความมั่นใจในตนเอง ระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้บทสนทนาความมั่นใจในตนเองในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ระหว่างการจัดกิจกรรมโดยใช้สถานการณ์จำลองกับกระบวนการกลุ่มร่วมมือแบบ CO - OP CO -O กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนอุเทนพัฒนา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 80 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกลุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลองกับกระบวนการกลุ่มร่วมมือแบบ CO-OPCO-OP รูปแบบละ 8 แผน รวมเวลา 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดความสามารถทักษะการพูดภาษาอังกฤษโดยใช้บทสนทนาชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.58 ถึง 0.85 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 แบบวัดความมั่นใจในตนเองเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples)


ผลวิจัยพบว่า


1) ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สถานการณ์จำลองกับกระบวนการกลุ่มร่วมมือแบบ CO -OP CO -OP มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.97/85.28 และ 71.81/72.42


2) ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้สถานการณ์จำลองกับกระบวนการกลุ่มร่วมมือแบบ CO -op co-op มีดัชนีประสิทธิผลมีค่าเท่ากับ 0.795 และ 0.612


3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรม โดยใช้สถานการณ์จำลองกับกระบวนการกลุ่มร่วมมือแบบ cO -oPco-op มีความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษ และความมั่นใจในตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทั้งสองวิธีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


4) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมโดยใช้สถานการณ์จำลอง มีทักษะการพูดภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการกลุ่มร่วมมือ


แบบ CO -OP CO-op อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
แสนคมคาย ส. (2015). การเปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้บทสนทนาความมั่นใจในตนเอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่อง Places ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมโดยใช้สถานการณ์จำลองกับกระบวนการกลุ่มร่วมมือแบบ CO - OP CO - OP. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 1–10. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RMUTI_SS/article/view/195868
บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2551). คู่มือการใช้หลักสูตรมัธยมศึกษาพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ ยูไนเต็ด โปรดักชั่น

บวรจิต พลขันธ์. (2551). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้สถานการณ์จำลอง. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

พรทิพย์ โสรถาวร. (2550). การศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้กิจกรรมกลุ่มกับสถานการณ์จำลอง ในการพัฒนาเชาว์อารมณ์ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

สุภัทรา อักษรานุเคราะห์. (2540). การสอนทักษะภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อภิษฎา ดวงจันทร์. (2551). การเปรียบเทียบผลของการใช้สถานการณ์จาลองและการเสริมแรงทางบวกที่มีต่อความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเศวตฉัตร เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

Chambers, Jay G. (1980). The Development of a Cost of Education Index : Some Empirical Estimatesand Policy Issues. Journal of Education Finance. Vol. 5. No. 3. p. 262

Geller, Danial M. (2010). Involvement in Role Playing Simulation; A Demonstration WithStudies on Obedience. Journal of Personality and Social Psychology. Vol. 5. No. 16 pp. 219-235

Trickett, Susan Bell. (2004). Movies-in-the-Mind : The Instantiation and Use of Conceptual Simulations in Scientific Reasoning. Dissertation Abstracts International. Vol. 64. No. 10 pp. 5250-B

Snyder, Lisa Marie. (2003). The Design and Use of Experiential Instructional Technology for theTeaching of Architectural History in American Undergraduate Architecture Programs. Dissertation Abstracts International. Vol. 64. No. 4 p. 1109-A