การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาเรื่องวงจรไฟฟ้าของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาไฟฟ้ากำลังระหว่างการจัดกิจกรรมที่เน้นทักษะกระบวนการกับการจัดกิจกรรมโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง วงจรไฟฟ้า ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่องวงจรไฟฟ้าของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง วงจรไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่างที่ไขในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ขั้นปีที่ 1 สาขาวิชาไฟฟ้ากำลัง คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนครพนม ที่เรียนวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ภาคเรียนที่ 1 ปี การศึกษา 2556 ได้แก่ ปวช. 1/1 และ ปวช. 1/2 มีนักเรียนจำนวน 40 คน แบ่งเป็นห้องละ 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ไนการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบเน้นทักษะกระบวนการและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน รูปแบบละ 4 แผน รวมเวลา 16 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 5 ตัวเลือก จำนวน 40 ขอ
ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่0.62 ถึง 0.75 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.26 ถึง 0.49 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 แบบทดสอบการคิดแก้ปัญหา เป็นแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.5 ถึง 0.8 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.2 ถึง 0.75 และค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.74 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ t-test (Independent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
- ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง วงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 เท่ากับ 88.75/86.62 และ 83.54/80.37 ตามลำดับ
- ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เรื่อง วงจรไฟฟ้า ของนักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 เท่ากับ 0.7713 และ 0.6616 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 77.13 และ 66.16 ตามลำดับ
- นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดแก้ปัญหาสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานและคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
คจรศักดิ์ สิงหันต์. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น ขั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้น ปีที่1. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. วิทยาลัยเทคนิคนครพนม : มหาวิทยาลัยนครพนม
ชนะ ครีบกระโทก. (2550). การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เรื่องการเพาะเห็ดนางฟ้า ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษาค้นคว้าอิสระ. (หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยสารคาม
เบญจมาศ เทพบุตรดี. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) และการจัดการเรียนรู้แบบปกติ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หาร ทศนิยม. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต.
(หลักสูตรและการสอน) มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
บุญร่วม ตาลจินดา. (2551). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง การทำไม้กวาดดอกหญ้า กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและการการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. (หลักสูตรและการสอน) มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พิสุทธิ์ ชุมเดชะ. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียน ความสามารถการคิดวิเคราะห์ และเจตคติการเรียนวิชาเขียนแบบก่อสร้าง 1 เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ CIPPA กับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. (หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยสารคาม
เพ็ญศรี พิลาสันต์. (2551). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) กับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีปกติ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. (หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
วิริยะสมร บัวทอง. (2554). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามรูปแบบของเดวีส์และรูปแบบที่เน้นทักษะกระบวนการที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การประดิษฐ์บายศรีความคิดสร้างสรรค์และเจตคติต่อการเรียนของนักเรียนขั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. (หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ศิริกนก สุวรรณธาดา. (2550). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนที่เน้นกระบวนการสาระเทคโนโลยีสารสนเทศเรื่องการใช้ซอฟต์แวร์ประมวลคำชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาคันคว้าอิสระ. (หลักสูตรและการสอน). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2545). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546). กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. กระทรวงศึกษาธิการ