การสร้างและพัฒนาแบบวัดการปรับตัวด้านการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Main Article Content

วุฒิชัย จงคำนึงศีล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญคือ สร้างและพัฒนาแบบวัดการปรับตัวด้านการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยได้ข้อ คำถามที่เป็นตัวอย่างพฤติกรรมจำนวน 158 ข้อ จากการศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสัมภาษณ์บุคคลแบบสามเส้า จากนักศึกษาจำนวน 6 คน อาจารย์ ผู้สอนจำนวน 3 คน และผู้บริหารมหาวิทยาลัยจำนวน 3 คน พบว่าลักษณะการปรับตัวด้านการเรียน ประกอบด้วย 2 ลักษณะ คือ ลักษณะการปรับตัวด้านการเรียนภายในห้องเรียน ได้แก่ การฟังบรรยาย การแสดงความคิดเห็นในห้องเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน และการจดบันทึก และอีกลักษณะ คือ การปรับตัวด้านการเรียนภายนอกห้องเรียน ได้แก่ การทบทวนเนื้อหาที่เรียนมา การทำการบ้าน งานที่มอบหมาย การเข้าร่วมกิจกรรมมหาวิทยาลัย การใช้เวลาว่างและการทำงานพิเศษ ผลการศึกษา พบว่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหามีค่าอยู่ระหว่าง 0.63 - 1.00 ความเชื่อมั่นทั้งฉบับมีค่าครอนบัคแอลฟ่า เท่ากับ 0.91 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อมีค่าอยู่ระหว่าง 0.20 - 0.73 เกณฑ์ปกติจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็น นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจำนวน 700 คน ประกอบด้วยเกณฑ์ปกติภาพรวมมีค่า เปอร์เซ็นต์ไทล์ตั้งแต่ 0.50 - 99.40 ค่าคะแนนทีปกติตั้งแต่ T16.37 - T83.51 เกณฑ์ปกติของการปรับตัว ด้านการเรียนภายในห้องเรียนมีค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ตั้งแต่ 0.90 - 99.00 และค่าคะแนนทีปกติตั้งแต่ T21.98 - T89.84 เกณฑ์ปกติของการปรับตัวด้านการเรียนภายนอกห้องเรียนมีค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ตั้งแต่ 0.90 - 99.00 และค่าคะแนนทีปกติตั้งแต่ T11.85 - T83.03 ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 120 ข้อ

Article Details

How to Cite
จงคำนึงศีล ว. (2019). การสร้างและพัฒนาแบบวัดการปรับตัวด้านการเรียนของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วารสาร มทร.อีสาน ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(1), 58–67. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RMUTI_SS/article/view/199512
บท
บทความวิจัย
Author Biography

วุฒิชัย จงคำนึงศีล, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นครราชสีมา

คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นครราชสีมา

References

จุฑามาศ ฉัตรพงษ์สวัส. (2553). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อการปรับตัวด้านการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

นันทา สู้รักษา. (มปป.). การทดสอบทางจิตวิทยา. ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ

ปวีณา ไชยชมพู. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2557). หลักสูตร. เข้าถึงเมื่อ (1 ธันวาคม 2559). เข้าถึงได้จาก (https://www.ac.th.lgrad/coruse.php)

วิไลลักษณ์ พงษ์โสภา. (2550). การปรับตัวให้ชีวิตมีความสุขในภาวะวิกฤต. วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์. ปีที่ 8, ฉบับที่ 1, หน้า 80-86

วุฒิชัย จงคำนึงศีล. (2547). การศึกษาและพัฒนาคุณลักษณะการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (2559). ข้อมูลสถิติ. เข้าถึงเมื่อ (3 สิงหาคม 2559). เข้าได้จาก (http://www.old.nrru.ac.th)

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2555). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Coons, I. V. C. (2014). Use of Standardized Tests within Nursing Education Programs. University of Nevada, Las Vegas, ProQuest Dissertations Publishing, 2014. (Order no. 3631731). Available (https://search.proquest.com/docview/1566477385?)

Holmes, P. (2002). Multiple Evaluation Versus Multiple Choice as Testing Paradigm: Feasibility, Reliability, and Validity. (Order no. c 809735). Dissertation/Thesis Universiteit Twente (The Netherlands) Netherlands. Available (https://search.proquest.com/docview/305522641?accountid=32051)

Liu, Yu-Ling. (2006). The Effects of Rater-Related Variables on Testing Oral Language Ability and Assessment of Speaking Performance. (Order no. 3520002). ProQuest Dissertation & Theses Global (304908715). Available (https://search.com/docview/304908715?accounted=31970)

Spear, R. E. (1999). A Philosophical Critique of Dtudent Assessment Practices. The University of British Columbia (Canada), ProQuest Dissertations Publishing, 1991. NN75427. Available (https://search.proquest.com/docview/303969502)

Weston, T. J. (1999). Investigation the Validity of the Accommodation of Oral Presentation in Testing. (Order no. 9925457). Available from ProQuest Dissertation & Theses.(3004499966). Available (https://search.proquest.com/docview/3004499966)